วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

มติ ครม 13 มิย 60 ขยายไปถึงการโอนที่ดิน ทรัพย์สินที่เป็นชื่อร่วม ให้สามารถโอนได้ด้วย

สาระสำคัญ สำนักงานบัญชีไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับทาง อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์ เป็นเพียงนำข้อมูลของท่านอาจารย์มาใช้อ้างอิงเท่านั้น เพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทานเท่านั้น
ที่มา Fan Pages :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์

วันนี้ (13 มิถุนายน 2560) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมพล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อขยายผลในการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปของนิติบุคคล
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อขยายผลในการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปของนิติบุคคล ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

กำหนดให้ยกเว้นภาษีให้แก่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน ให้แก่นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นใหม่ โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นหุ้นส่วนสามัญของนิติบุคคลนั้น ทั้งนี้ เฉพาะการโอนทรัพย์สินและการจดทะเบียนและจัดตั้งนิติบุคคลที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 เพื่อส่งเสริมให้ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลประกอบธุรกิจในรูปของนิติบุคคล

ดูพระราชกฤษฎีกา 630 

ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 5 หลักเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อพระราชกฤษฎีกา 630 

วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ด่วน ฟรี ฟรี ฟรี ใครมีปัญหาลงโปรแกรม DBD E-Filing และ กรอกแบบ หรือ ข้อสงสัยเกี่ยวกับ DBD E-filing พร้อมเบอร์โทรติดต่อ

ด่วน ฟรี ฟรี ฟรี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดีต่อใจ จึงจัดให้
1.ใครมีปัญหาลงโปรแกรม DBD E-Filing และ กรอกแบบ 
2.ข้อสงสัยเกี่ยวกับกรอกแบบ DBD E-filing
3.โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ยังไงก็รีบเตรียมตัวนะครับ เพราะถ้าใกล้เวลาหมดเขตเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าคงไม่สามารถให้บริการได้รวดเร็ว นะครับ ถ้าเป็นไปได้ก็รีบไปติดต่อก่อนนะครับ



วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

"เน็ตไอดอล" ทั้งหลาย...มีเงินได้เสียภาษีเงินได้อย่างไร

"เน็ตไอดอล" ทั้งหลาย...มีเงินได้เสียภาษีเงินได้อย่างไร มาดูกันครับ*********
Cr. ภาพจาก : เว็บไซต์กรมสรรพากร


รายได้จากการโชว์หรือ แสดงตัว กรณีนับเป็นรายได้แบบ 40 (2) กรณีไหนเป็นแบบ 40 (8) มาดู

อ้างอิง :- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 102 / 2544  ที่เกี่ยวข้อง ครับ


วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

มาตรา 65 ทวิ(9) การจำหน่ายหนี้สูญ ตามกรมสรรพากร

ที่มาจากเอกสารประกอบการสัมมนา ยื่นแบบ ภงด 50 ง่ายกว่าที่คิด
จัดทำโดย นส.พรศิริ เหล่าพัชรกุล และ นส.กัลยาณี ยิ้มย่อง

สรุป ค่าเลี้ยงรับรองและของขวัญที่กรมสรรพากรยอมรับ มาตรา 65 ตรี (4)

ค่าเลี้ยงรับรองและของขวัญที่กรมสรรพากรยอมรับ มาตรา 65 ตรี (4)

ที่มาจากเอกสารประกอบการสัมมนา ยื่นแบบ ภงด 50 ง่ายกว่าที่คิด
จัดทำโดย นส.พรศิริ เหล่าพัชรกุล และ นส.กัลยาณี ยิ้มย่อง


วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

กิจการร่วมค้า (Joint Venture) VS กิจการค้าร่วม(Consortium)

ที่มา: SMEs Today


กิจการร่วมค้า(Joint Venture) VS กิจการค้าร่วม(Consortium)
 การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการรับจ้างทำงานโครงการใหญ่ๆ หรือรับงานที่ต้องมีการประกวดราคา(ประมูลงาน) ผู้ประกอบการ บางรายอาจไม่สามารถรับงานได้โดยลำพังเพราะเงินทุนไม่พอหรือขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรับงานนั้นๆ ดังนั้น ผู้ประกอบการ อาจมีความจำเป็นต้องร่วมกับผู้อื่นในการรับงาน เพื่อยกระดับความสามารถในการดำเนินงาน และเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ และที่ สำคัญการรวมตัวกันจะทำให้เป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีประสิทธิภาพในการแข่งขันกับคู่แข่งขันได้
การร่วมกันทางธุรกิจมีหลายลักษณะซึ่งอาจมีการนำเงินและเทคโนโลยีมาร่วมกันลงทุน โดยการกำหนดสัดส่วนหุ้นและการจัดสรร ผลประโยชน์ระหว่างกัน มีรูปแบบเหมือนการจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่ หรือบางลักษณะจะมีการร่วมกันรับงานเพียงอย่างเดียว โดยมีการ แบ่งแยกสิทธิและหน้าที่ รวมทั้งกำไรและขาดทุนอย่างชัดเจน การร่วมกันในทางการค้านั้นที่นิยมกันในปัจจุบันคือ กิจการร่วมค้า (Joint Venture) และกิจการค้าร่วม(Consortium)
กิจการร่วมค้า (Joint Venture) คือ การร่วมประกอบธุรกิจของบุคคลหรือกิจการตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยมีการร่วมลงทุนกันไม่ว่าจะ เป็นเงินทุน ทรัพย์สิน แรงงาน เทคโนโลยี ที่ดิน บุคลากร หรืออื่นๆ ภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาร่วมค้าเพื่อประกอบกิจการร่วมกัน และจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์รวมถึงเป้าหมายการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน ถ้าโครงการนั้นทำเสร็จสิ้นลงก็จะถือว่าการร่วมค้านั้น ยุติลงด้วย ในกรณีเกิดความเสียหายทางการค้าก็จะรับผิดชอบร่วมกันในนามกิจการร่วมค้าและเมื่อมีผลกำไรก็จะจัดสรรตามสัดส่วน ของการลงทุน

ทั้งนี้ในการร่วมกันจะต้องมีผู้ร่วมค้าฝ่ายหนึ่งเป็นนิติบุคคล เช่นบริษัทกับบริษัท หรือบริษัทกับบุคคลธรรมดา การร่วมกันดังกล่าวจะ ไม่เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่จะมีเพียงสถานะเหมือนห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนเท่านั้น อย่างไร ก็ตาม ก็ต้องขอบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรในนามกิจการร่วมค้ากับสรรพากรพื้นที่ ในการขอบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของกิจการ ร่วมค้า ทั้งสองฝ่ายจะต้องนำสัญญากิจการร่วมค้ามาเป็นหลักฐาน ถ้าฝ่ายใดเป็นนิติบุคคลให้แสดงหนังสือรับรองนิติบุคคลพร้อม สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจ แต่ถ้าฝ่ายใดเป็นบุคคลธรรมดาให้ใช้เพียงสำเนาบัตรประจำตัว ประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน

ประโยชน์ของกิจการร่วมค้า คือ เพื่อจะช่วยคู่ค้าแต่ละฝ่ายลดและกระจายความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งยังช่วยประหยัดภาษีจากส่วนกำไรเพราะกฎหมายกำหนดว่าเมื่อได้รับส่วนแบ่งกำไรไม่ต้องนำมาคำนวณรวมกับรายได้ของบริษัทเดิม
กิจการค้าร่วม (Consortium) คือ การประกอบธุรกิจที่มีลักษณะของการร่วมกันขององค์กรธุรกิจตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป เพื่อดำเนิน กิจการหนึ่งด้วยวัตถุประสงค์ คือเป็นการเข้าร่วมกันเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามแผนธุรกิจ แต่ละฝ่ายจะใช้ความสามารถและความ ชำนาญในการทำงานในส่วนที่ตนรับผิดชอบให้สำเร็จตามโครงการ และมีการแบ่งแยกการทำงานไว้อย่างชัดเจน โดยต่างฝ่ายต่าง ออกใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินเฉพาะของบริษัทตน

สัญญากิจการค้าร่วมเป็นเพียงการลงนามร่วมกันในการทำสัญญากับเจ้าของโครงการเท่านั้น เพราะแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบเฉพาะใน ส่วนของตน ไม่มีการร่วมทุนหรือแบ่งปันผลกำไรหรือขาดทุนระหว่างกัน เมื่องานเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะยุติลงเหมือนกับกิจการร่วมค้า กิจการร่วมค้าไม่มีชื่อเรียกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายรัษฎากร จึงไม่ต้องขอบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี อากร แต่มีการเสียภาษีจากกำไรของแต่ละบริษัทนั่นเอง

ประโยชน์ของกิจการค้าร่วม คือ ผู้ประกอบการจะสามารถคำนวณหรือประเมินความสามารถของตนในการรับงานในแต่ละส่วนได้ และจะรับผิดชอบเฉพาะส่วนงานของตนเองเท่านั้น ตัวอย่างของกิจการค้าร่วมเช่น บริษัท A และบริษัท B ร่วมกันทำสัญญากับ หน่วยงานรัฐ ในการขายและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้ชื่อ "กิจการร่วมค้า AB" หรือ "คอนซอร์เตียม AB" ซึ่งบริษัท A รับผิดชอบในการขายอุปกรณ์ ส่วนบริษัท B รับผิดชอบในการติดตั้งระบบ เมื่อปรากฎว่าเกิดความเสียหายจากการพัฒนาระบบจนไม่ สามารถใช้งานได้อันมิใช่เกิดจากอุปกรณ์ ดังนั้นบริษัท B จึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
จากความแตกต่างของการร่วมกันในทางการค้าของทั้งสองลักษณะ หากผู้ประกอบการจำเป็นต้องร่วมการค้ากับผู้อื่นคงจะต้องดู ศักยภาพ ความชำนาญ และความสามารถของกิจการตนเองเป็นหลัก

วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

หุ้นสินทรัพย์ตัวใหม่ที่ กรมสรรพากรในยุคดิจิตัลที่จะใช้ไล่ล่าเสียภาษีได้

ตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะให้แบบฟอร์มรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท หรือ บอจ 5 จะต้องใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักแล้ว ทำให้หน่วยราชการมีฐานข้อมูลในการเป็นเจ้าของสินทรัพย์อีกประเภทหนึ่งคือหุ้น ครับ จะมีผลในตรวจสอบการเสียภาษีของหุ้นคือ แค่ป้อนข้อมูลเลขประจำตัวบัตรประชาชนหรือเลขประจำตัวนิติบุคคล 13 หลักก็จะเห็นประวัติการเป็นผู้ถือหุ้น ดังนี้ คือ

1.นิติบุคคลตาม บอจ 5 คือ บริษัท จำกัด

    ถ้าบริษัทจำกัดที่มีกำไรสะสม ไม่ว่าจะเป็นสำรองตามกฎหมาย หรือ กำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรร เมื่อจะจ่ายเงินปันผล หรือเมื่อจะเลิกกิจการ ถ้ายังมีกำไรสะสมอยู่ เท่ากับบริษัทมีภาระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของการจำหน่ายกำไรเท่ากับร้อยละ 10 เช่น ถ้าบริษัทมีกำไรสะสม 1,000,000 บาทก็จะมีภาระภาษีการจ่ายเงินปันผลร้อยละ 10 หรือ เท่ากับ 100,000 บาท

   สรุป ผู้บริหารบริษัทพึงระลึกเสมอว่า กำไรสะสมที่คงเหลือในบัญชีบริษัทมีภาระหนี้สินที่จะต้องชำระภาษีให้กรมสรรพากรร้อยละ 10 นะครับ

2.ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม หลักคือ

    2.1 บุคคลธรรมดา แบ่งตามเงินได้เป็น

      2.1.1 เงินปันผลเมื่อได้รับจะต้องถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 10 แต่ให้สิทธิ์เลือกได้ระหว่างเลือกเสียภาษีร้อยละ 10 หรือนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้บวกเครดิตภาษีเงินปันผล แต่ต้องนำมารวมคำนวณเงินปันผลทุกนิติบุคคล หรือไม่เลือกเลย

การเครดิตภาษีเงินได้จากเงินปันผลบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน
http://tax.bugnoms.com/dividend-from-investment-should-pay-tax/

    2.1.2 กำไรจากการขายหุ้น ถ้าเป็นผู้ขายแล้วผู้ซื้อไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลสามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายในส่วนของผลกำไรจากการขายหุ้น โดยหักภาษีตามตารางภาษีบุคคลธรรมดาอัตราก้าวหน้า

อ้างอิงหนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
http://www.rd.go.th/publish/25417.0.html

ดูสรุปตารางการหัก ภาษี ณ ที่จ่ายข้างล่าง (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือ โอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
http://taxclinic.mof.go.th/pdf/128E587B_B65D_89A7_F9B2_425C2D4F8325.pdf

  2.1.3 ภาษีการให้และการรับ การให้สังหาริมทรัพย์ก่อนตาย
กรณีสังหาริมทรัพย์

– เงินได้ที่ได้รับจาก บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่ สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น

– เงินได้ที่ได้รับจาก การอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา จากบุคคลซึ่ง มิใช่ตามข้อ 1 เฉพาะเงิน ได้ในส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น

– เงินได้ที่ได้รับซึ่งผู้ให้แสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

อ้างอิง http://www.realist.co.th/blog/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%81-2/

  2.1.4 ภาษีมรดก คือสินทรัพย์ที่ให้หลังจากเสียชีวิตแล้ว คือมรดกที่ผู้รับมรดกได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ถ้ามรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีการรับมรดก

 อ้างอิง กรมสรรพากร http://www.rd.go.th/publish/27614.0.html

   2.2 นิติบุคคล แบ่งตามเงินได้เป็น

    2.2.1 เงินปันผล สรุปได้ดังนี้

   ก. 10% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีที่ได้รับยกเว้น
ที่มาจากเอกสารประกอบการสัมมนา ยื่นแบบ ภงด 50 ง่ายกว่าที่คิด
จัดทำโดย นส.พรศิริ เหล่าพัชรกุล และ นส.กัลยาณี ยิ้มย่อง




    2.2.2 กำไรจากการขายหุ้น ไม่มีภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด

อ้างอิง ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
http://www.set.or.th/th/regulations/tax/tax_p1.html

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สรุปอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SME ประจำปี 2559

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล SME ที่ไม่ได้ลงทะเบียนบัญชีชุดเดียว
ที่มาจากเอกสารประกอบการสัมมนา ยื่นแบบ ภงด 50 ง่ายกว่าที่คิด
จัดทำโดย นส.พรศิริ เหล่าพัชรกุล และ นส.กัลยาณี ยิ้มย่อง


อ้างอิงพระราชกิจจานุเบกษาคลิกเลย
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/033/42.PDF

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล SME ที่ได้ลงทะเบียนบัญชีชุดเดียว

สิทธิ์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล SME ปี 59 อัตรา 0 %
คลิกอ่านเพิ่มเติม
http://skaccountinginformation.blogspot.com/2016/01/58.html
ตรวจสอบสิทธิการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2559
ตาม พรฎ. 595 พ.ศ.2558 (สำหรับรายที่จดแจ้งบัญชีเดียว+ทุนไม่เกิน 5 ล้านรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท)
https://edss.sys.rd.go.th/sme/index3.jsp

เงื่อนไข นิติบุุคคล SME  คือ ทุนที่ชำระแล้ว ณ วันสิ้นงวด ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ตั้งแต่ปี 55 ไม่เคยเกิน 30 ล้านบาท ถ้าหลังจากปี 55 เคยเกิน 30 ล้านบาทแล้วจะไม่สามารถนับเป็น SME ได้ ครับ

อ้างอิง -ข้อมูลจาก fanpages ;- สุเทพ พงษ์พิทักษ์ ครับ

ปล. กิจการไม่มีความเกี่ยวข้องใด กับท่านอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์ นะครับ ข้อมูลที่นำมาอ้างอิง เพื่อประโยชน์ เพื่อผู้เสียภาษีเท่านั้น นะครับ


คุณมานิตย์ "Marnit Aongphisud" กับ Tor Upp และ 3 อื่นๆ ได้โพสต์ไปในไทม์ไลน์ เมื่อ 17 ส.ค. 2556 เวลา 14:37 น. บริเวณ Bangkok ว่า
"เรียนอาจารย์สุเทพ รบวนขอความกระจ่างเรื่องการลดอัตราภาษีสำหรับ SME
1. อ้างถึงรายละเอียดคำอธิบายในแบบ ภ.ง.ด.51 รอบปี 2556 ผมเข้าใจว่าเงื่อนไขเรื่องรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทจะพิจารณาเป็นรอบระยะเวลาบัญชีไป เช่น ถ้ารอบปี 2556 มีรายได้เกิน 30 ล้านบาทไม่สามารถเใช้สิทธิ์ SME ได้ และถ้ารอบปี 2557 มีรายได้ไม่ถึง 30 ล้านบาทสำหรับปี 2557 จะสามารถใช้สิทธิ์ SME ได้
2. อ้างถึงการปรึกษากับ RD Call Center พอดีเจ้าหน้าที่ให้คำอธิบายว่าถ้ามีรอบบัญชีใดมีรายได้เกิน 30 ล้านบาทจะถือว่ากิจการนั้นๆไม่ถือเป็น SME เช่น ถ้ารอบปี 2554 มีรายได้ 50 ล้านบาท รอบปี 2555 มีรายได้ 20 ล้านบาท และรอบปี 2556 มีรายได้ 20 ล้านบาท บริษัทฯจะไม่สามารถใช้สิทธิ์ SME ได้เนื่องจากรอบปี 2554 เคยมีรายได้เกิน 30 ล้านบาท
ขอขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้านะครับ"

เรียน คุณมานิตย์ "Marnit Aongphisud"
ตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 บัญญัติว่า
"มาตรา 8 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 6 และการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 7 ต้องไม่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินห้าล้านบาทและต้องไม่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินสามสิบล้านบาท ทั้งนี้ ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป"
ดังนั้น หากตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 เป็นต้นไป กิจการ SMEs ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งสองข้อ กิจการนั้น ย่อมไม่ได้สิทธิเป็น SMEs ที่จะลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีนั้นเป็นต้นไป และไม่อาจกล้บคืนมาได้สิทธิดังเช่นพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับก่อนๆ อีกต่อไป
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
1. การพิจารณาเงื่อนไขตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 ไม่อาจพิจารณาเป็นรอบรายระยะเวลาบัญชีดังเช่นที่เคยเป็นตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 ได้อีกแล้ว เนื่องจากได้มีการกำหนดเงื่อนไขใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม โดยให้พิจารณาว่า ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 เป็นต้นไป หากมีรอบระยะเวลาบัญชีปีใดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 530) ก็ย่อมเสียสิทธิตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป ไม่อาจจะกลับมาใช้สิทธิตามมาตรา 6 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับดังกล่าวได้อีกเลย
กรณีรอบระยะเวลาบัญชีปี 2556 มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต้องพิจารณาด้วยว่า ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 ซึ่งเป็นรอบแรกที่ต้องพิจารณาเงื่อนไขตาม พรฎ. (ฉบับที่ 530) ได้สิทธิตามมาตรา 6 และมาตรา 7 หรือไม่ หากรอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 ไม่ได้สิทธิแล้ว ก็จะพาให้รอบระยะเวลาบัญชีปี 2556 เสียสิทธิไปด้วย และเสียสิทธิตลอดไป แต่ถ้ารอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 ได้สิทธิ แต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2556 มีรายได้เกิน 30 ล้านบาท ก๋ทำให้เสียสิทธินับแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2556 เป็นต่นไป แม้ว่าในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2557 กิจการจะมีรายได้ไม่ถึง 30 ล้านบาทอีกก็ตาม
2. กรณีที่บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยรอบระยะเวลาบัญชีปี 2554 บริษัทฯ มีรายได้ 50 ล้านบาท แต่ครั้นรอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 บริษัทฯ มีรายได้ 20 ล้านบาท และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2556 บริษัทฯ ก็มีรายได้ 20 ล้านบาท เช่นนี้ บริษัทฯ ยังคงสามารถใช้สิทธิประโยชน์ของกิจการ SME ตามพรฎ. (ฉบับที่ 530) มาตรา 6 และมาตรา 7 ได้ เพราะเป็นกฎหมายคนละฉบับกับ พรฎ. (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 ซึงในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2554 บริษัทฯ เคยมีรายได้เกิน 30 ล้านบาท ซึ่งเสียลิทธิตาม พรฎ. (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 ครั้นในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 ตัองเริ่มพิจารณาหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามพรฎ. (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 กันใหม่

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายได้ขับรถบริการผ่าน GRAB แกร็บ UBER อูเบอร์ เสียภาษีให้ถูกต้องทำอย่างไร

สำนักงานบัญชีไม่มีความสัมพันธ์ใดกับท่านอาจารย์สุเทพ พงษ์พิท้กษ์ แต่จัดทำบทความนี้เพื่อไว้อ้างอิงและเผยแพร่ประโยชน์กับสาธารณชน ความเชื่อถือในความเห็นของท่านอาจารย์และกฏหมายที่ท่านอาจารย์ได้อ้างอิงไว้เป็นหลักฐาน ครับ

ที่มา Fan Pages :-สุเทพ พงษ์พิทักษ์


คุณ ธีรธร “‎Lovetocollect Shop‎” (24 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เวลา 10:32 น.)
 กราบเรียน คุณครูสุเทพ ที่เคารพ
ปุจฉา: ขออนุญาตเรียนถามแนวทางเพื่อเสียภาษีรายได้ปี 2559 จากประเด็นส่วนตัว เนื่องจากไม่เข้าใจรูปแบบแหล่งที่มาของรายได้เพื่อการเสียภาษี ดังนี้
1. ปี 2559 นี้ เป็นปีแรกที่ไม่มีรายได้จากงานประจำ หรืองานโครงการที่มีรายได้หักภาษี (ที่ผ่านมา ทุกปีได้ลงทุน RMF/ LTF ต่อเนื่อง) แต่ด้วยต้องมีรายได้เพื่อใช้จ่าย จึงตัดสินใจขับรถบริการผ่าน free application mobile ที่แพร่หลายขณะนี้ โดยเจ้าของ app แจ้งว่า มีเพียงใบเสร็จ (รายลัปดาห์) แจ้งการชำระเงินรายได้จากการขับเป็นหลักฐานเท่านั้น "ไม่มีการหักภาษี เนื่องจากไม่ใช่การว่าจ้างใดๆ" เป็นเพียงการให้บริการ app เพื่อการขับบริการเท่านั้น จึงไม่สามารถออกใบหักภาษีได้
2. ประเด็นขอคำปรึกษาแนะนำแนวทางปฏิบัติเพื่อการคำนวณภาษี
2.1 ควรเสียภาษีในประเภทใด ข้อใด ที่ตรงการระบุแหล่งที่มารายได้ ในเอกสารยื่นเสียภาษีเงินได้ของกรมสรรพากร
2.2 หลักฐานใบเสร็จฯ เป็นหลักฐานประกอบการยื่นภาษีเงินได้ ได้หรือไม่
2.3 การลงทุนใน RMF/ LTF ยังเป็นปกติหรือไม่
2.4 คำชี้แนะอื่นๆ ที่ควรปฏิบัติ
กราบขอความอนุเคราะห์คุณครูโปรดให้คำปรึกษา ชี้แนะแนวทาง เพื่อปฏิบัติได้ถูกต้องตามกฎหมาย
และกราบขออภัยคุณครูมาในที่นี้ ที่ขอคำชี้แนะล่าช้าใกล้สิ้นปีภาษีเงินได้มาก (แม้ติดตามฟังคุณครูผ่าน FM. 101.5 วิทยุจุฬา ต่อเนื่องยาวนานก็ตาม) ด้วยไม่แน่ใจว่า การยื่นภาษีเงินได้จากการขับรถบริการผ่าน free app. จะยื่นเสียภาษีเงินได้ด้วยหรือไม่ครับ
กราบขอบพระคุณคุณครูด้วยความเคารพอย่างสูง

สุเทพ พงษ์พิทักษ์


วิสัชนา:
กรณีประกอบกิจการขับรถบริการผ่าน free application mobile โดยเจ้าของ app แจ้งว่า มีเพียงใบเสร็จ (รายสัปดาห์) แจ้งการชำระเงินรายได้จากการขับเป็นหลักฐานเท่านั้น "ไม่มีการหักภาษี เนื่องจากไม่ใช่การว่าจ้างใดๆ" เป็นเพียงการให้บริการ app เพื่อการขับบริการเท่านั้น จึงไม่สามารถออกใบหักภาษีได้ นั้น
1. การให้บริการขับรถ เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการให้บริการขนส่ง เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร โดยระบุแหล่งที่มารายได้ว่า เป็นการให้บริการรถร่วมของ free application mobile ในแบบ ภ.ง.ด.94 และ ภ.ง.ด.90
2. หลักฐานใบเสร็จฯ ใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นภาษีเงินได้ โดยให้เก็บรักษาไว้เพื่อให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบต่อไป
3. การลงทุนใน RMF/ LTF ยังเป็นปกติทุกประการ ตามสัดส่วนของเงินได้
4. ขอให้มั่นใจ และภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพสุจริตครับ และเป็นกำลังใจให้ครับ

ความเห็นเพิ่มเติม

สุเทพ พงษ์พิทักษ์ เงินได้จากการขนส่ง หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับปีภาษี พ.ศ. 2558 ได้ 80% ซึ่งยังสูงมาก ค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงและสมควรอาจน้อยกว่า แต่ก็ควรเก็บหลักฐานการจ่ายจริงไว้เป็นข้อมูลและเลือกหักค่าใช้จ่ายในปีภาษีที่มีค่าใช้จ่ายจริงสูงกว่าค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา เช่น รวมกับค่าซ่อมรถยนต์ เป็นต้น

อ้างอิงที่มา
https://www.facebook.com/Suthep.Pongpitak/posts/1337332246317748:0

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เฉลี่ยภาษีซื้อเมื่อมีรายได้จากค่าเช่าและค่าบริการ ให้นำภาษีซื้อไปเฉลี่ยตามฐานรายได้ ภพ. 30 หรือว่าต้องเฉลี่ยภาษีซื้อตามฐานรายได้ ภงด.50

สำนักงานบัญชีไม่มีความสัมพันธ์ใดกับท่านอาจารย์สุเทพ พงษ์พิท้กษ์ แต่จัดทำบทความนี้เพื่อไว้อ้างอิงและเผยแพร่ประโยชน์กับสาธารณชน ความเชื่อถือในความเห็นของท่านอาจารย์และกฏหมายที่ท่านอาจารย์ได้อ้างอิงไว้เป็นหลักฐาน ครับ

ที่มา Fan Pages :-สุเทพ พงษ์พิทักษ์
คุณทราย
ปุจฉา: 

เรื่องการเฉลี่ยภาษีซื้อเมื่อมีรายได้จากเงินมัดจำค่าเช่าและค่าบริการ ตามที่ปรึกษาอาจารย์ คือให้นำภาษีซื้อไปเฉลี่ยตามฐานรายได้ ภพ. 30 แต่สรรพากรพื้นที่แจ้งว่า ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อตามฐานรายได้ ภงด.50 จึงขอสอบถามอาจารย์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวคะ และมีข้อกฎหมายใดเพื่อมาอ้างอิงได้บ้างคะ
ขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูงคะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์

วิสัชนา:

การเฉลี่ยภาษีซื้อเมื่อมีรายได้จากเงินมัดจำค่าเช่าและค่าบริการ ตามที่ได้แนะนำให้ฉลี่ยภาษีซื้อตามฐานรายได้ แบบ ภ.พ. 30 จำนวน 12 เดือนภาษี แต่สรรพากรพื้นที่แจ้งว่า ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อตามฐานรายได้ ภงด.50 นั้น

ขอเรียนว่า กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นไปตามหมวด 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตั้งแต่มาตรา 77 ถึงมาตรา 90/5 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นคนละกฎหมายกับภาษีเงินได้นิติบุคคลตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งหากไม่มีบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร กฎหมายทั้งสองฉบับจะเป็น พระราชบัญญัติที่แยกกันโดยเด็ดขาด และเห็นได้โดยชัดแจ้ง ว่า ไม่มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องในเชิงที่จะต้องนำรายได้ของอีกกฎหมายหนึ่งไปใชักับอีกกฎหมายหนึ่ง แต่เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรจากราษฎร จึงได้มีการตราประมวลรัษฎากร ขึ้น เป็นหมวดๆ แต่ละหมวดก็ยังคงแยกกันบังคับใช้โดยเด็ดขาด


การที่จะใช้รายได้ตามแบบ ภ.ง.ด.50 เป็นฐานในการเฉลี่ยรายได้นั้น 
ประการที่ 1 ไม่มีข้อกฎหมายใดกำหนดให้ต้องถือปฏิบัติเช่นนั้น ยกเว้นในปี 2535 ที่ยังไม่เคยมีรายได้ในระบยภาษีมูลค่าเพิ่มมาก่อน อธิบดิกรมสรรพากร จึงอนุโลมให้ใช้รายได้ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 เป็นฐานในการเฉลี่ยภาษีซื้อของปี 2535 แต่ครั้นมีฐานภาษีมูลค่าเพิ่มเองแล้ว ก็ย่อมไม่พึงต้องใช้รายได้ตามแบบ ภ.ง.ด.50 เป็นฐานในการเฉลี่ยภาษีซื้ออีกต่อไป เพราะเป็นคนละกฎหมาย


ประการที่ 2 ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) ข้อ 4 ได้กำหนดฐานรายได้ที่จะใช้ในการเฉลี่ยภาษีซื้อไว้ชัดเจนแล้ว ดังนี้ 

"ข้อ 4 รายได้ตามข้อ 2 และข้อ 3 หมายความว่า

(1) รายได้ของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายความว่า มูลค่าของฐานภาษีของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ...

(2) รายได้ของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายความว่า มูลค่าของฐานภาษีของกิจการประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รายรับของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และรายรับของกิจการประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ...
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 67) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นไป)
“รายได้ตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึง

(ก) รายได้ที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนำเงินไปหาประโยชน์โดยการฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ หรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่น แต่ทั้งนี้ไม่ใช้บังคับสำหรับการประกอบกิจการตามมาตรา 91/2(1)(2) และ (3) แห่งประมวลรัษฎากร

(ข) รายได้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการกู้ยืมเงินกันเองในระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน
คำว่า "บริษัทในเครือเดียวกัน" หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กันโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนอยู่ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอีกแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันที่มีการกู้ยืม

(ค) รายได้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนสะสมพนักงานหรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นำเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ

(ง) รายได้ที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการประกอบกิจการประเภทที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 153) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป)


ดังจะเห็นได้ว่าตามข้อ 4 (1) กำหนดให้ใช้ "มูลค่าของฐานภาษีของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม" ด้งนี้ 

"(1) รายได้ของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายความว่า มูลค่าของฐานภาษีของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม" 
จึงเป็นที่ชัดแจ้งแล้วว่า ต้องใช้มูลค่าของฐานภาษีตามแบบ ภ.พ.30 เท่านั้น เพราะในแบบ ภ.ง.ด.50 ไม่ปรากฏว่ามี "มูลค่าของฐานภาษีของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม" ให้เห็นแต่อย่างใด

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ข้อมูลการขอใบอนุญาตการทำงาน “คนต่างด้าวระดับฝีมือ/ชำนาญการ” จากกระทรวงแรงงาน

ข้อมูลการขอใบอนุญาตการทำงาน “คนต่างด้าวระดับฝีมือ/ชำนาญการ” จากกระทรวงแรงงาน
ที่มา http://www.mol.go.th/employee/permission_work

ข้อมูล ณ วันที่ 29/11/2559

การขอใบอนุญาตทำงาน
“คนต่างด้าวระดับฝีมือ/ชำนาญการ”

1. การขอรับใบอนุญาตทำงาน
          คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานต้องมีวีซ่า NON - IMMIGRANT - B โดยคนต่างด้าวต้องให้นายจ้าง/สถานประกอบการจัดเตรียมและส่งสัญญาจ้างพร้อมเอกสารการดำเนินงานธุรกิจของสถานประกอบการนำไปยื่นต่อสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ พิจารณาออกวีซ่า NON - IMMIGRANT - B โดยเมื่อคนต่างด้าวได้รับวีซ่านั้นแล้ว จึงเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบคำขอ “ตท.1 

          หากสถานทูตไทยในประเทศนั้นพิจารณาเอกสารการดำเนินธุรกิจและสถานะทางการเงินของนายจ้าง/สถานประกอบการแล้วเห็นว่ายังไม่เพียงพอต่อการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงาน ทำให้ต้องการหนังสือจากกระทรวงแรงงานต่อไปอีก จึงให้นายจ้าง/สถานประกอบการยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวตามแบบคำขอ “ตท.3” เมื่อนายจ้าง/สถานประกอบการได้รับหนังสือแจ้งการพิจารณาอนุญาตทำงานแล้ว ต้องจัดส่งหนังสือดังกล่าวพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้คนต่างด้าวนำไปยื่นขอวีซ่า NON – IMMIGRANT - B ณ สถานทูตไทยในประเทศนั้น หลังจากนั้นคนต่างด้าวจึงเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรภายใน 30 วันนับจากวันที่รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอนุญาต เพื่อยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานพร้อมเอกสารตามที่ระบุไว้ในหนังสือแจ้งผล 

          ทั้งนี้ กรณีคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้ว ให้ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบคำขอ “ตท.1” โดยไม่ต้องดำเนินการขอวีซ่า NON - IMMIGRANT - B

2. คนต่างด้าวต้องไม่เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามตามเงื่อนไข ดังนี้
    2.1 มีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ขออนุญาต
    2.2 ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
    2.3 ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
    2.4 ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต

3. คนต่างด้าวต้องไม่ขอทำงานตามพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 จำนวน 39 อาชีพ (เรียกดูข้อมูลในเมนู “ข้อมูลเผยแพร่”)

4. หลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าว โดยคำนึงถึง
    - ความมั่นคงภายในราชอาณาจักรด้านการเมือง ศาสนา เศรษฐกิจและสังคม 
    - โอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทย และความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ 
      (ตัวอย่างเช่น คนต่างด้าว 1 คนต้องจ้างงานพนักงานคนไทยทำงานประจำ 4 คน)
    - ประโยชน์จากการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในตำแหน่งงานนั้น เช่น การนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาลงทุนหรือใช้จ่ายในประเทศเป็นจำนวนมาก การจ้างงานคนไทยจำนวนมาก หรือการพัฒนาทักษะฝีมือคนไทยซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน

5. การกำหนดจำนวนการพิจารณาออกใบอนุญาตทำงาน
    5.1 นายจ้างที่มีขนาดการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท หรือจดทะเบียนนิติบุคคลในต่างประเทศนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท ออกใบอนุญาตทำงานให้ 1 คน และให้เพิ่มขึ้นหนึ่งคนต่อขนาดการลงทุนทุก 2 หรือ 3 ล้านบาท เว้นแต่คนต่างด้าวมีคู่สมรสเป็นคนไทยซึ่งจดทะเบียนสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมาย ขนาดของการลงทุนลดลงกึ่งหนึ่ง ทั้งนี้ไม่เกิน 10 คน /หรือ
    5.2 การออกใบอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้าง/สถานประกอบการดังต่อไปนี้ จำนวนของการออกใบอนุญาตทำงานเป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสม
          - ดำเนินธุรกิจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศและนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศไม่น้อยกว่าสามสิบล้านบาทขึ้นไปในปีที่ผ่านมา /หรือ
          - ดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งนำชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไม่น้อยกว่าห้าพันคนในรอบปีที่ผ่านมา /หรือ
          - สถานประกอบการมีการจ้างงานคนไทยไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน /หรือ
          - เป็นงานที่ใช้เทคโนโลยีซึ่งคนไทยทำไม่ได้หรือใช้ความรู้ความชำนาญเฉพาะทางเพื่อให้งานสำเร็จภายใต้โครงการที่มีระยะเวลาแน่นอน /หรือ
          - สถานประกอบการชำระภาษีเงินได้ให้แก่รัฐในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่า ๓ ล้านบาท /หรือ
          - หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน หรือคนต่างด้าวตามที่มีหนังสือรับรองจากหน่วยงานดังกล่าว /หรือ
          - สถาบันการศึกษาของเอกชน ซึ่งมีหนังสือแต่งตั้งให้เป็นครู/ผู้สอน/บุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน /หรือ
          - มูลนิธิ สมาคม หรือองค์กรอื่นที่มีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจหรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม /หรือ
          - กิจการบันเทิง มหรสพ ดนตรี ซึ่งมีลักษณะการจ้างงานเป็นครั้งคราวมีระยะเวลากำหนดไว้แน่นอน /หรือ
          - อื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2552 (เรียกดูข้อมูลในเมนู “ข้อมูลเผยแพร่”)
หมายเหตุ  พิจารณารายได้ขั้นต่ำของคนต่างด้าวประกอบด้วย (ตามตารางเงินได้ในหัวข้อที่ 16)

6. อายุของใบอนุญาตทำงาน พิจารณาอนุญาตให้ตามความจำเป็นของงานหรือตามที่ขอ ทั้งนี้ไม่เกิน 2 ปี/ครั้ง

7. การต่ออายุใบอนุญาตทำงาน คนต่างด้าวผู้รับใบอนุญาตทำงาน หากประสงค์จะทำงานนั้นต่อไป ต้องไปขอต่ออายุวีซ่าจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองก่อน แล้วจึงให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามแบบคำขอ “ตท.5” โดยต้องยื่นแบบคำขอก่อนสิ้นอายุการอนุญาต ทั้งนี้ “ใบอนุญาตทำงานที่สิ้นอายุแล้วไม่สามารถต่ออายุได้”

8. การเปลี่ยนหรือเพิ่ม การทำงาน สถานที่ และท้องที่ในการทำงาน คนต่างด้าวผู้ถือใบอนุญาตทำงานที่ยังคงทำงานกับนายจ้าง/สถานประกอบการที่อนุญาตไว้เดิม หากมีความประสงค์ดังกล่าว ยื่นขออนุญาตตามแบบคำขอ “ตท.6

9. การเปลี่ยนนายจ้าง/สถานประกอบการ คนต่างด้าวต้องไปติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อลงตรา VISA พ้นหน้าที่เดิมและขออยู่ต่อในราชอาณาจักรอีก 7 วัน หรือเดินทางออกนอกราชอาณาจักรไปขอ Non - Immigrant VISA ใหม่จากสถานทูตไทย แล้วจึงยื่นขอใบอนุญาตทำงานใหม่ ตามแบบคำขอ “ตท.1” เพื่อทำงานกับนายจ้าง/สถานประกอบการใหม่ก่อน VISA หมดอายุ

10. คนต่างด้าวผู้ถือใบอนุญาตทำงานประสงค์จะมีการเปลี่ยนแปลง ชื่อ - นามสกุล สัญชาติ ลายมือชื่อ การย้ายที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ชื่อสถานประกอบการ รายละเอียดของสถานประกอบการตามประกาศของทางราชการ และการเปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทธุรกิจ ให้ยื่น “คำร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต”

11. กรณีใบอนุญาตทำงานเดิมชำรุดในสาระสำคัญ หรือ สูญหาย ให้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการชำรุดหรือสูญหาย ยื่นตามแบบคำขอ “ตท.4

12. การขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน กรณีคนต่างด้าวผู้ถือใบอนุญาตทำงานลาออกจากงาน หรือนายจ้างให้   คนต่างด้าวนั้นออกจากงาน และหากมีความประสงค์จะแจ้งให้นายทะเบียนทราบ ยื่นแจ้งตามแบบ “ใบแจ้งยกเลิกการอนุญาตทำงาน” ภายหลังจากคนต่างด้าวออกจากงานแล้ว โดยไม่มีบทลงโทษหรือกำหนดระยะเวลาการแจ้ง

13. การแจ้งการเข้ามาทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วน กรณีคนต่างด้าวที่พำนักอยู่นอกราชอาณาจักรมีความจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาเพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วน โดยมีระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 15 วัน ให้ยื่นแจ้งตามแบบคำขอ “ตท.10” ทั้งนี้ “งานที่เข้ามาทำนั้นต้องมีลักษณะเป็นงานอันจำเป็นและเร่งด่วนถึงขนาด ซึ่งถ้าไม่รีบทำงานดังกล่าวแล้วน่าจะเกิดความเสียหายขึ้น โดยไม่มีกำหนดการณ์ล่วงหน้า และมีระยะเวลาในการทำงานแล้วเสร็จได้ภายใน 15 วัน” หมายเหตุ ไม่มีการต่ออายุให้อีก

14. สถานที่ติดต่อยื่นคำขอ ให้ดำเนินการ ณ ท้องที่อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ ดังนี้
      - กรุงเทพมหานคร ติดต่อ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ชั้น 2 กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
      - ในส่วนภูมิภาค/ต่างจังหวัด ติดต่อ สำนักงานจัดหางานจังหวัดตามที่สถานประกอบการตั้งอยู่

15. อัตราค่าธรรมเนียม   
    (1) การยื่นคำขอฉบับละ 100 บาท
    (2) ใบอนุญาต 
          (ก) ใบอนุญาตที่มีอายุไม่เกินสามเดือนฉบับละ 750 บาท
          (ข) ใบอนุญาตที่มีอายุเกินสามเดือนแต่ไม่เกินหกเดือนฉบับละ 1,500 บาท
          (ค) ใบอนุญาตที่มีอายุเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปีฉบับละ 3,000 บาท
     (3) การต่ออายุใบอนุญาตหรือการขยายระยะเวลาการทำงาน 
          (ก) การต่ออายุใบอนุญาตหรือการขยายระยะเวลาการทำงานไม่เกินสามเดือนครั้งละ 750 บาท
          (ข) การต่ออายุใบอนุญาตหรือการขยายระยะเวลาการทำงานเกินสามเดือนแต่ไม่เกินหกเดือน 
          (ค) การต่ออายุใบอนุญาตหรือการขยายระยะเวลาการทำงานเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปีครั้งละ 3,000 บาท
     (4) ใบแทนใบอนุญาตฉบับละ 500 บาท
     (5) การอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มลักษณะงานครั้งละ 1,000 บาท
     (6) การอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้างครั้งละ 3,000 บาท
     (7) การอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มท้องที่หรือสถานที่ทำงานครั้งละ 1,000 บาท
     (8) การอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มเงื่อนไขในการอนุญาตครั้งละ 150 บาท
  
 16. ตารางเงินได้ท้ายคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 777/2551 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 ตามหลักเกณฑ์ ข้อ 2.1 (2)
  
สัญชาติ
รายได้ขั้นต่ำ
1. ประเทศในทวีปยุโรป (ยกเว้นรัสเซีย) และออสเตรเลีย, แคนาดา, ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา50,000 บาท/เดือน
2. ประเทศเกาหลีใต้, สิงคโปร์, ไต้หวัน และฮ่องกง45,000 บาท/เดือน
3. ประเทศในทวีปเอเซีย (ยกเว้นญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์,ไต้หวัน, ฮ่องกง, กัมพูชา, พม่า, ลาว และเวียดนาม) และทวีปอเมริกาใต้, ประเทศในเขตยุโรปตะวันออก, ประเทศในเขตอเมริกากลาง, เม็กซิโก, ตุรกี, รัสเซีย และแอฟริกาใต้35,000 บาท/เดือน
4. ประเทศในแอฟริกา (ยกเว้นแอฟริกาใต้), กัมพูชา, พม่า, ลาว และเวียดนาม25,000 บาท/เดือน

ตท.1 คำขอรับใบอนุญาตทำงาน ตามมาตรา 9
ตท.2 คำขอรับใบอนุญาตทำงาน ภายใต้ MOU
ตท.3 คำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว ตามมาตรา 11
ตท.4 คำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน ตามมาตรา 25
ตท.5 คำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ตามมาตรา 23
ตท.6 คำขออนุญาตเปลี่ยนการทำงานหรือเปลี่ยนท้องที่ หรือสถานที่ในการทำงาน ตามมาตรา 26
ตท.10 แบบหนังสือแจ้งการเข้ามาทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วน ตามมาตรา 9
ตท.13
ตท.15