วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เลิกกิจการมีขาดทุนสะสมเกินทุน โดยกิจการเป็นหนี้หุ้นส่วนหรือกรรมการและมีการยกหนี้ให้ ถือเป็นเงินได้ของกิจการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ที่มา Fanpages “สุเทพ พงษ์พิทักษ์” 
คุณ Bangon Suanmaplub ได้เขียนไปในไทม์ไลน์ “สุเทพ พงษ์พิทักษ์” เมื่อ 9 ตุลาคม 2557 เวลา 15:09 น. จาก Bang Kapi ว่า
“กราบเรียน ท่านอาจารย์สุเทพ ที่เคารพ
หนูมีเรื่องรบกวนสอบถามเกี่ยวกับการเลิกบริษัทค่ะ กรณีที่บริษัทฯ จดเลิกกับกรมพัฒฯ แล้ว ต่อมาได้จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิก แล้วปรากฎว่าในงบดุลมีบัญชีเงินกู้ยืมกรรมการอยู่ทางด้านหนี้สิน ซึ่งมีการทำหนังสือยกหนี้ให้ แต่เมื่อไปจดเลิกกับสรรพากร ทางสรรพากรแจ้งว่าหนี้สินดังกล่าวต้องตีกลับเป็นรายได้ในทางภาษีแล้วต้องยื่น ภ.ง.ด.50 เพิ่มเติม เพราะถือว่าการยกหนี้ดังกล่าวถือว่าบริษัทมีรายได้ในทางภาษี กรณีเช่นนี้ถือว่าใช่หรือไม่คะ และอ้างอิงได้กับมาตราไหน และถ้าบริษัทมีผลประกอบการที่ขาดทุน เงินกู้ยืมกรรมการก็เพื่อนำมาใช้หมุนเวียน พอถือเป็นรายได้แล้วกลายเป็นกำไรขึ้นมาต้องเสียภาษี เช่นนี้ถูกต้องหรือไม่คะ
รบกวนอาจารย์ด้วยนะคะ
ขอแสดงความนับถืออย่างสูง”
เรียน คุณ Bangon Suanmaplub
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
กรณีเลิกกิจการ และมีการชำระบัญชี หากเจ้าหนี้ยอมยกหนี้ให้แก่บริษัทฯ ในทางภาษีอากรย่อมถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการ แต่จำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะชำระต่อทางราชการนั้น ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่รวบรวมจำนวนเงินที่บริษัทฯ มีอยู่เพื่อชำระค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียงเท่าที่มีส่วนที่เหลือเท่านั้น ไม่สามารถจะไปหาจากที่ใดมาชำระหนี้ จึงไม่อยู่ในความรับผิดของผู้ชำระบัญชี ทั้งนี้ ตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 4638/2546 กรมสรรพากร โจทก์ บจ. เอ็มซารูอินเตอร์เนชั่นแนล กับพวก จำเลย เรื่อง ความรับผิดของผู้ชำระบัญชี
ขอได้โปรดศึกษาเพิ่มเติมจาก 
http://www.sanpakornsarn.com/page_article_detail.php?aID=169



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น