วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กิจการทำสัญญาเช่าซื้อแลัวได้รับส่วนลดเงินดาวน์รถ 50,000 บาททำอย่างไร ครับทั้งในแง่ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล

ที่มา Fanpage :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ปล. กระผมขอขอบคุณอาจารย์ในการนำสอนต่อสาธารณะชนเท่านั้น อาจารย์ไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับกิจการ ทางสำนักงานบัญชีเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำเผยแพร่เท่านั้น นะครับ

คุณ Tukta S'Tippaporn ได้โพสต์ไปในกล่องข้อความ “สุเทพ พงษ์พิทักษ์” เมื่อ 23 มกราคม 2558 เวลา 19:15 น. ว่า
“เรียน อาจารย์สุเทพ
หนูขอสอบถามปัญหาดังนี้ค่ะ
บริษัท S ซื้อรถกระบะ ด้วยวิธีการผ่อนชำระกับบริษัทลิสซิ่ง
มีเงื่อนไขในการซื้อขายดังนี้ ราคาขายรถ 700,000.- บาท 
เงินดาวน์ 90,000 บาท ทั้งนี้ บริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์
ได้ให้ส่วนลดเงินดาวน์ จำนวน 50,000 บาท โดยบริษัท S เลือกที่จะนำส่วนลด จำนวน 50,000.- บาท ไปลดเงินดาวน์ ซึ่งเท่ากับว่าบริษัท S จ่ายเงินดาวน์ เพียง 40,000.- บาท (ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการออกรถจะไม่ขอกล่าวถึงเนื่องจากไม่ติดใจสงสัยค่ะ) เอกสารที่บริษัท S ได้รับมี 3 ฉบับ ดังนี้
1. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี จาก บริษัทลิสซิ่ง “เงินดาวน์ 84,112.15 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 5,887.85 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 90,000 บาท”
2. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี จากบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ดังนี้ “รายได้ค่าบริการอื่นๆ 3,271.03 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 228.97 บาท รวมเป็นทั้งสิ้น 3,500.-บาท”
3. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ “ค่าส่งเสริมการขาย 50,000.- บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1,500.- บาท”
จากประเด็นข้างต้น ขอเรียนถาม
a) ข้อเท็จจริงบริษัท S ได้จ่ายเงินดาวน์ไปเพียง 40,000.- บาท แต่ได้รับใบกำกับภาษีซื้อมาเต็มจำนวนก่อนหักส่วนลด มีวิธีการบันทึกบัญชีอย่างไร
b) และบริษัท S สามารถนำใบกำกับภาษีซื้อ ตามข้อ 1 และ 2 มาใช้ได้ทั้ง 2 ฉบับ รวมเป็นจำนวน 6,116.82 บาท ใช่หรือไม่
กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์ ได้โพสต์ตอบเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 22:55 น. ว่า
a) ส่วนลดเงินดาวน์ ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ และยันทึกเป็นรายได้อ่ืน
b) บริษัท S สามารถนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวมาถือเป็นเครดิตหักภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น