วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

ประเภทเงินได้ของนักเขียน ม. 40 (8) , ม 40 (3) และ ม.40 (2) เพื่อเข้าใจต้นทุนการเสียภาษี ครับ

ที่มา :- Fanpages:- สุเทพ พงษ์พิทักษ์

คุณนัฐ “Nattikarn Wongsophanakul” ได้เขียนไปในไทม์ไลน์ “สุเทพ พงษ์พิทักษ์” เมื่อ 30 มกราคม 2558 เวลา 15:12 น. ว่า
“เรียน อาจารย์
อยากทราบกรณีนักเขียนได้รับส่วนแบ่งจากหนังสือที่ตนเขียนจากยอดเล่มที่ขายได้ จากสำนักพิมพ์ โดยต้นทุนการพิมพ์นักเขียนเป็นผู้จ่ายชำระ ไม่ทราบว่าเงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้ 40 (8) ประเภทวรรณกรรม ใช่หรือไม่คะ และกรณีใดที่จะเข้าเป็น 40 (3) หรือ 40 (2) คะ
ขอแสดงความนับถือ”
เรียน คุณนัฐ “Nattikarn Wongsophanakul”
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
เงินได้พึงประเมินของนักเขียน
1. กรณีที่นักเขียนเป็นผู้ลงทุนพิมพ์หนังสือเพื่อจำหน่าย โดยฝากให้สำนักพิมพ์เป็นผู้จัดจำหน่าย ค่าหนังสือก่อนหักรายจ่ายค่าจัดจำหน่ายจากทางสำนักพิมพ์ ถือเป็นเงินได้จากงานวรรณกรรม ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร รายได้ประเภทนี้ ไม่อยู้ในบังคับที่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และเป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีนักเขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์ในบทประพันธ์ของตนเองจากสำนักพิมพ์ ซึ่งตามปกติจะตกลงกันในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าหนังสือที่พิมพ์จำหน่าย โดยคำนวณจาก ราคาหน้าปก คูณด้วยจำนวนพิมพ์ เงินได้ประเภทนี้เป็นรายได้ที่อยู่ในบังคับที่ต้องถูกหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยคำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อัตราก้าวหน้า) และเป็นรายได้ที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยถือเป็นรายได้จากการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง
อนึ่ง นักประพันธ์อาจได้รับเงินได้ค่านายหน้าจากการขายหนังสือของคนอื่น จึงจะถือเป็นเงินได้พึงประเมินจากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นรายได้ที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยถือเป็นรายได้จากการให้บริการตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

สรุป:- ความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับอ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์ นะครับ
1. พิมพ์หนังสือเองขาย ถือเป็นเงินได้ มาตรา 40 ( 8 ) ไม่ถูกหัก ณ ที่จ่าย หัก ค่าใช้จ่ายเหมาได้ (10) การทำวรรณกรรม ร้อยละ 75  ขายหนังสือไม่เสีย VAT มีความเสี่ยงต้องลงเงินจ้างพิมพ์หนังสือ

2.รับค่าลิขสิทธฺ์ในบทประพันธ์ของตนเอง ถือเป็นค่าสิทธฺิ์ ถูกหัก ภาษี ตามอัตราก้าวหน้า เป็นรายได้ที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าเกิน 1.8 ล้านบาท
"3. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายยอมให้หักค่า ใช้จ่ายได้เฉพาะเงินได้ที่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ โดยให้หักเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์แต่ไม่เกิน 60,000 บาท 

สำหรับค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจาก พินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล ไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

ในกรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ประเภทนี้ และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์เดียวกัน"

ข้อดี ไม่ต้องลงทุนทำหนังสือเพิ่ม ถ้าได้เยอะก็เสียภาษีเยอะ เพราะแทบหักค่าใช้จ่ายไม่ได้เลย

3. ค่านายหน้าจากการขายหนังสือให้คนอื่น ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (2) ถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ตามอัตราก้าวหน้า เป็นรายได้ที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าเกิน 1.8 ล้านบาท

"1. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายให้หัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด ดังนี้

(1) ผู้มีเงินได้สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของเงินได้แต่รวมกันแล้วต้อง ไม่เกิน 60,000 บาท

(2) ในกรณี
สามีภริยา ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 40 แต่ไม่เกินฝ่ายละ 60,000 บาท "

ข้อดี ไม่ต้องลงทุนเสี่ยง ถ้าได้เยอะก็เสียภาษีเยอะ เพราะแทบหักค่าใช้จ่ายไม่ได้เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น