วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

บุคคลธรรมดา ซื้อเนื้อหมูมาทำลูกชิ้นหมู ขายส่งและปลีก +ซื้อกระเพาะปลาแห้ง มาทอดกับน้ำมัน และขาย เสียภาษีอย่างไร

ที่มา Fanpages “สุเทพ พงษ์พิทักษ์” 

คุณมาลีวรรณ นิลอร่าม “Fon Maleewan” ได้เขียนไปในไทม์ไลน์ “สุเทพ พงษ์พิทักษ์” เมื่อ 14 กันยายน 2557 เวลา 22:14 น. ว่า

“กราบเรียน อาจารย์สุเทพ ที่เคารพหนูมีปัญหาเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่าย ม. 40 (8) ค่ะคิดจะทำธุรกิจส่วนตัวเล็กน้อย แต่อยากเสียภาษีให้ถูกต้องค่ะ และกลัวว่าจะได้กำไร ไม่คุ้มกับภาษีที่ต้องเสียจะซื้อเนื้อหมูมาทำลูกชิ้นหมู ขายส่งและปลีกกรณีหักค่าใช้จ่ายตามจริง

ถ้าหนูทำลูกชิ้นหมูเสร็จช่วงสิ้นปี 2557 แต่นำไปขายได้เงินต้นปี 2558 หนูต้องเสียภาษีปีไหน และค่าใช้จ่ายจะหักอย่างไรกรณีหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา หักได้ร้อยละเท่าไรคะขอถามเผื่อเพื่อนด้วยค่ะ

ส่วนเพื่อนอีกคน จะซื้อกระเพาะปลาแห้ง มาทอดกับน้ำมัน และขายเป็น "กระเพาะปลาทอดน้ำมัน ที่ห่อเป็นถุงใหญ่ๆ" จะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา ร้อยละเท่าไรคะขอบพระคุณมากค่ะ”

เรียน คุณมาลีวรรณ นิลอร่าม “Fon Maleewan”ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า 

1. กรณีบุคคลธรรมดา “หนู” ทำลูกชิ้นหมูเสร็จช่วงสิ้นปี 2557 แต่นำไปขายได้เงินต้นปี 2558 “หนู” ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2558 เพราะต้องรับรู้เงินได้ตามเกณฑ์เงินสด 

2. สำหรับการคำนวณหักค่าใช้จ่าย หากประกอบกิจการเป็น “ภัตตาคาร” ซึ่งเป็นสถานที่ที่จัดให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้ หรือ “การปรุงอาหาร หรือเครื่องดื่มจำหน่าย” อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ในอัตราร้อยละ 70 ของเงินได้พึงประเมิน หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรก็ได้ ตามมาตรา 8 (7) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบันที่ 11) พ.ศ. 25023. กรณีซื้อกระเพาะปลาแห้ง มาทอดกับน้ำมัน และขายเป็น "กระเพาะปลาทอดน้ำมัน ที่ห่อเป็นถุงใหญ่ๆ ถือเป็น “การปรุงอาหารจำหน่าย” อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ในอัตราร้อยละ 70 ของเงินได้พึงประเมิน หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรก็ได้ ตามมาตรา 8 (7) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบันที่ 11) พ.ศ. 2502 เช่นเดียวกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น