วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คณะบุุคคล หุ้นส่วนบางคนขอแบ่งจ่ายกำไร บางคนยังไม่รับได้หรือไม่ การสะสมไม่จ่ายส่วนแบ่งกำไร ผลจะเป็นอย่างไร

ที่มา Fanpages :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์

อาจารย์ Suriya Teerawattanasarn ได้โพสต์ไปบนไทม์ไลน์ "สุเทพ พงษ์พิทักษ์" เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 22:22 น. ว่า
"ขอเรียนสอบถาม อ.สุเทพ ว่า
กำไรซึ่งได้จัดสรรแบ่งระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนเรียบร้อยแล้ว แต่มีผู้เป็นหุ้นส่วนบางคนยังจะไม่ขอรับเงินส่วนแบ่ง จะขอฝากไว้ในบัญชีเงินฝากของห้างฯ ไว้ก่อน
ส่วนแบ่งกำไรส่วนนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นจะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีหรือไม่ครับ"

เรียน อาจารย์ Suriya Teerawattanasarn
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
กรณีตามข้อเท็จจริงที่แจ้งไป โดยส่วนตัว ให้ถือเป็นเงินได้ของผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้น เสมือนหนึ่งว่าได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไปแล้ว (Constructive Receipt) ซึ่งต่างจากกรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ต้องได้รyบเงินส่วนแบ่งของกำไรไปจริง จึงจะถือว่าได้รับเงินได้ เนื่องจากกรณีของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับผู้เป้นหุ้นส่วนนั้น ถือเป็นคะหน่วยภาษีแยกต่างหากจากกันโดยชัดแจ้ง แต่สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญมีความสัมพันธ์เสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว โดยไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งมีคำกล่าวอ้างบัญญัติไว้ในมาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ดังนั้น เงินที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นฝากไว้ย่อมถือได้ว่า เป็น "เงินเพิ่มทุน" ของผุ้เป็นหุ้นส่วนคนที่ฝากเงินไว้ ทั้งนี้ กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญสามารถที่จะเพิ่มทุนได้ตลอดเวลา เว้นแต่จะมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น เช่น ตกลงให้ถือเป็นเงินกู้ยืมจากผู้เป็นหุ้นส่วน เป็นต้น

อ้างอิงเพิ่มเติม
มาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้บัญญัติไว้ดังนี้
“ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นเสมือนเป็นบุคคลคนเดียวไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคน ไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชำระให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย”

สรุปความเห็นส่วนตัว
      อย่าลืมว่า ตั้งแต่ 1 มค 58 ส่วนแบ่งกำไร ไม่ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย แต่ต้องนำไปเป็นเงินได้ส่วนแบ่งกำไร ประเภทเงินได้ 40 (8) ซึ่งไม่สามารถหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายภาษีใดๆ ได้ และต้องคำนวณด้วยอัตราก้าวหน้าเท่านั้นไม่ได้ให้เลือกแบบเงินปันผลหักร้อยละ 10 แล้วจบได้แบบ บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนะครับ ถ้าสะสมซักคนละ 3 ล้าน อัตราภาษีจ่ายร้อยละ 37 นะครับต้องควักเงินสดๆ จ่ายนะครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น