วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การว่าจ้างนักแสดง แต่จ่ายค่าจ้างให้กับผู้จัดการ ได้หรื่อไม่ อย่าไร

ที่มา Fanpages:- สุเทพ พงษ์พิทักษ์

คุณ Doungporn Mungsungkate (17 เมษายน เวลา 15:39 น.)
ปุจฉา: เรียน อาจารย์สุเทพที่เคารพ
หนูมีปัญหาขอถามอาจารย์ กรณีนักแสดง
คำถาม บริษัท ก จำกัด ได้ว่าจ้างนักแสดง คือ น.ส.ข เพื่อถ่ายโฆษณาสินค้า โดยไม่ได้ทำสัญญาว่าจ้างระหว่างกัน แต่มีลักษณะเป็นใบเสนอราคา โดยระบุเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าจ้าง ให้จ่ายชำระเป็นเช็ค ในนามของ นาย A และหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งในนามของนาย A ลักษณะเช่นนี้ถือเป็นเงินได้ของใครคะ ระหว่าง ดารา น.ส.ข หรือ นาย A
ขอบคุณค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีบริษัท ก จำกัด ได้ว่าจ้างนักแสดง คือ น.ส. ข เพื่อถ่ายโฆษณาสินค้า โดยไม่ได้ทำสัญญาว่าจ้างระหว่างกัน แต่มีลักษณะเป็นใบเสนอราคา โดยระบุเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าจ้าง ให้จ่ายชำระเป็นเช็ค ในนามของ นาย A และหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งในนามของนาย A ลักษณะเช่นนี้ถือเป็นเงินได้ของดารา น.ส. ข เพราะนาย A เป็นเพียงตัวแทนของ น.ส. ข เท่านั้น หากทางราชการจับได้ว่าบริษัทฯ ร่วมกับ น.ส. ข หลีกเลี่ยงภาษีอากร อาจต้องระวางโทษตามมาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
“มาตรา 37 ผู้ใด
(1) โดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะนี้ หรือ
(2) โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะนี้
ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท”
อย่างไรก็ตามหากไม่มีหลักฐานอื่นใดว่าบริษัทฯ จ้าง น.ส. ข ตามบทบัญญัติมาตรา 61 แห่งประมวลรัษฎากร ก็อนุโลมให้เรียกเก็บภาษีเงินได้จาก นาย A

ที่มา Fanpages:- สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ปล. กระผมขอขอบคุณอาจารย์ในการนำเสนอต่อสาธารณะชนเท่านั้น อาจารย์ไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับกิจการ ทางสำนักงานบัญชีเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำเผยแพร่เท่านั้น นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น