วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กรณีที่สร้างอาคารบนที่ดินเช่า แล้วยกให้แก่เจ้าของทีดินทันที โดยได้สิทธิการเช่าเป็นระยะเวลาที่ตกลงกัน เช่น 20 ปี (BTO: Built Operate Transfer) และได้นำสิทธิการเช่านั้นมาใช้ในกิจการทีอยุ่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำนักงานบัญชีไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์ทั้งสิ้น
เป็นการนำมาแสดงประกอบข้อกฏหมายอ้างอิง 
เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรโดยมีหลักกฎหมายอ้างอิงเท่านั้น

กรณีที่สร้างอาคารบนที่ดินเช่า แล้วยกให้แก่เจ้าของทีดินทันที โดยได้สิทธิการเช่าเป็นระยะเวลาที่ตกลงกัน เช่น 20 ปี (BTO: Built Operate Transfer) และได้นำสิทธิการเช่านั้นมาใช้ในกิจการทีอยุ่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หากภายหลังได้มีการโอนสิทธิการเช่าใหแก่บุคคลอื่น ถือเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใยข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้านำสิทธิการเช่านั้นมาให้เช่าช่วงต่อไป ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการโอนสิทธิการเช่านั้นแต่อย่างใด

ที่มา Fanpages :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์

คุณ Niramon Dankum (25 สิงหาคม 2558 เวลา 20:42 น.)
ปุจฉา: เรียนปรึกษา อาจารย์ค่ะ
กรณี บจ.A สร้างปั๊มน้ำมัน ร้าน 7-11 ร้านกาแฟ นำภาษีซื้อค่าก่อสร้างทั้งหมดมาขอคืน VAT ทั้งหมดแล้ว ต่อมาได้ตั้ง บจ.B บริหารร้าน 7-11 และตั้ง บจ. C ทำร้านกาแฟ
โดย บจ.A ออกใบกำกับภาษีขาย อาคารร้าน 7-11 ให้ บจ.B (เฉพาะอาคาร)
และออกใบกำกับภาษีขาย อาคารร้านกาแฟให้ บจ.C
บจ. A ยื่นยอดขาย ส่วน บจ.B และ C ยื่นยอดซื้อขอคืน VAT
ถาม
1. บจ.A ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่..ถ้าไม่ถูก ต้องทำอย่างไร
2. บจ.B และ C นำภาษีซื้อมาขอคืน..ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่..ถ้าไม่ถูกต้องทำอย่างไร
3. หลังจากที่ บจ.B ซื้ออาคาร มาประมาณ 6 เดือน ก็ทราบว่า เป็นส่วนของอาคาร ร้านขายของฝาก เกินมาด้วย จึง ออกใบกำกับภาษีขาย ขายคืนอาคาร ส่วนที่เกิน ให้กับ บจ. A. (ถาม. บจ.B ปฏิบัติถูกต้องหรืิอไม่ ถ้าไม่ถูกต้องทำอย่างไร)
4. จาก คำถาม ข้อ 1 - 3 ถ้าไม่ถูกต้อง ต้องรับผิดทางภาษีอย่างไรบ้างคะ
ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ


สุเทพ พงษ์พิทักษ์


วิสัชนา:
1. บจ.A ปฏิบัติไม่ถูกต้อง เพราะการขายอาคารโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนสิทธิและนิติกรรมต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน ย่อมไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้น การสร้างอาคารร้านค้า 7-11 และร้านกาแฟ นัน หากประกอบกิจการเองย่อมเป็นกิจการทีอยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ย่อมกระทำได้ แต่เมื่อตั้งบริษัท B ให้บริหารร้านค้า 7-11 และบริษัท C ให้บริหารร้านกาแฟ นั้น บริษัท A ไม่สามารถออกใบกำกับภาษีเพื่อขายร้านทั้งสองในส่วนที่เป็นอสังหารมทรัพย์ได้ แต่ในส่วนของการขายสังหาริมทรัพย์ เช่น สินค้า ตู้แช่ เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆ บริษัท A สามารถออกใบกำกับภาษีได้ ที่ถูกต้องควรทำ “สัญญาให้ใช้อาคาร” เพราะเป็นกิจการที่อยู่ในข่ายทีต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมูลค่าการขายอาคาร จนกว่าจะครบสามปี นับแต่เดือนภาษีที่อาคารเสร็จสมบูรณ์ และขายในส่วนของสังหาริมทรัพย์เท่านั้น

ในใบกำกับภาษีต้องแสดงรายละเอียดการขายสินค้าและการให้บริการให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อเท็จจริง และมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร

2. บจ.B และ C นำภาษีซื้อมาขอคืน หากเป็นใบกำกับภาษีทีแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อ 1 ก็ย่อมถือว่าได้ปฏิบัติถูกต้องแล้ว แต่ถ้าไม่ได้แก่ไขให้ถูกต้องก็จนใจ

3. การที่บริษัท B ออกใบกำกับภาษีขาย เพื่อขายคืนอาคารร้านขายของฝาก ส่วนที่เกิน ให้กับ บจ. A. เช่นนี้ บริษัท B ปฏิบัติไม่ถูกต้อง เช่นเดียวกับข้อ 1 ควรยกเลิกใบกำกับภาษีดังกล่าว เพราะเป็นกิจกรรมที่ไม่อาจจะออกใบกำกับภาษีขายได้ เป็นผลให้บริษัท B มียอดภาษีขายแจ้งเกิน และสำหรับบริษัท A มียอดภาษีซื้อสำหรับรายการดังกล่าวแจ้งเกิน

4. ก่อนตอบข้อนี ขอถอนหายใจเฮือกใหญ่ และขอบอกว่า ความไม่รู้และไม่เข้าใจภาษีมูลค่าเพิ่ม นั้น พาให้ทำอะไรต่อมิอะไรที่ผิดพลาดไปหมด โดยไม่รู้ตัว (ไม่ทราบว่าจะได้รับคำแนะนำที่ผิดๆ มาหรือเปล่า เฮ้อ!!!)

สำหรับบริษัท A หากแก้ไขใบกำกับภาษีค่าขายอาคารร้านค้า ให้เป็นการให้บริการใช้อาคารแทน ตามจำนวนหรือมูลค่าเดิม ในทางภาษีมูลค่าเพิ่มก็หลุดพ้นไปจากความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้ แต่ถ้าไม่แก้ไขก็ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 89 (6) แห่งประมวลรัษฎากร

สำหรับบริษัท B และบริษัท C ที่ได้รับใบกำกับภาษีซื้อจากบริษัท A หากได้แก้ไขให้ถูต้องตามที่ควรจะเป็นดังกล่าวข้างต้น ก็ย่อมหลุดพ้นไปจากความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้ แต่ถ้าไม่แก้ไขก็ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 89 (3) หรือ (4) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากใช้ภาษีซื้อเกินไป

Noppawan Mahuntapibal อาจารย์ค่ะ ส่วนใหญ่การสร้างปั๊มน้ำมัน มักจะสร้าง บนที่ดินของเจ้าของ และการขออนุญาตก่อสร้างอาจขอโดยบริษัทหรือบุคคลธรรมดา ซึ่งตามปกติ อาคารมักจะตกเป็นของ เจ้าของที่ดิน เว้นแต่ไปจดกรมที่ดินแยกความเป็นเจ้าของระหว่างอาคารและที่ดิน เมื่ออาคารมิได้ไปจดทะเบียนขายที่กรมที่ดิน และไม่ได้จดแยกความเป็นเจ้าของ จึงถือว่าเป็นการให้สิทธิใช้อาคาร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเสมอใช่ไหมคะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์ @ คุณ Noppawan Mahuntapibal 
ขอบุคณสำหรับแนวคิดที่ดิที่มอบให้
กรณีที่สร้างอาคารบนที่ดินเช่า แล้วยกให้แก่เจ้าของทีดินทันที โดยได้สิทธิการเช่าเป็นระยะเวลาที่ตกลงกัน เช่น 20 ปี (BTO: Built Operate Transfer) และได้นำสิทธิการเช่านั้นมาใช้ในกิจการทีอยุ่ในข่
ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หากภายหลังได้มีการโอนสิทธิการเช่าใหแก่บุคคลอื่น ถือเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใยข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้านำสิทธิการเช่านั้นมาให้เช่าช่วงต่อไป ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการโอนสิทธิการเช่านั้นแต่อย่างใด


*คลิกLIKEเพื่อทันข่าวสารด้านภาษี บัญชี เพื่อธุรกิจ SME มาเป็นแฟนเพจของเรา ค่ะ *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น