วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ได้รับใบกำกับภาษีมาจากผู้ขาย เป็นแบบฟอร์มเก่าที่มีเลขประจำตัว 10 หลักพิมพ์มาจากโรงพิมพ์ และใช้หมึกเขียนเลขประจำตัว 13 หลักเพิ่ม จะสามารถขอคืนภาษีได้หรือไม่

สำนักงานบัญชีไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์ทั้งสิ้น
เป็นการนำมาแสดงประกอบข้อกฏหมายอ้างอิง 
เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรโดยมีหลักกฎหมายอ้างอิงเท่านั้น

ที่มา Fanpages :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์

คุณ Darika Wongnaknoi (25 สิงหาคม 2558 เวลา 12:35 น. จากกรุงเทพมหานคร) 

ปุจฉา: 
ได้รับใบกำกับภาษีมาจากผู้ขาย เป็นแบบฟอร์มเก่าที่มีเลขประจำตัว 10 หลักพิมพ์มาจากโรงพิมพ์ และใช้หมึกเขียนเลขประจำตัว 13 หลักเพิ่ม จะสามารถขอคืนภาษีได้หรือไม่

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา: 
ไม่ได้ครับ 

กรณีดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (12) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ดังนี้
“(12) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งรายการตามมาตรา 86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร มิได้ตีพิมพ์ขึ้น หรือมิได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ”
อนึ่ง รายการตามมาตรา 86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ “ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี...” 
ความเห็นเพิ่มเติม Suphot Sumleekaew 
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
และผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการ

ตามประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓)

ข้อ ๔/๑ “ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายที่มีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรอยู่ก่อนวันที่ที่ประกาศนี้ใช้บังคับจะใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรนั้นในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรต่อไป หรือแก้ไขเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรพร้อมกับลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขหรือประทับตรายางเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่ถูกต้องเพิ่มเติมจนถึงวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ก็ได้ แต่ไม่รวมถึงการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของผู้มีหน้าที่เสียภาษี ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี”

ความเห็นเพิ่มเติม สุเทพ พงษ์พิทักษ์ 

ขอบคุณ อาจารย์สุพจน์ ที่เพิ่มเติมรายบะเอียดที่ชัดเจนให้อีก นั่นย่อมหมายความว่า หากเป็นเรื่องของการปฎิยัติการตามประมวลรัษฎากรไม่เกิน 31 มกราคม 2556 หรือเป็นเวลา 1 ปีถัดจากวันที่ใช้บังคับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก 
แต่คำถามปัจจุบัน 2558 จึงตัดบทเข้าเงื่อนไขภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัํษฎากร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น