วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่องการนับเงินได้เพื่อซื้อ RMF LTF หลังแก้ไข กม. 2558 ลงวันที่ 11 มกราคม 59

ตัวอย่าง 3 อ้างอิง จากคำชี้แจงกรมสรรพากร

ในปี ๒๕๕๘ นาย ค ได้รับเงินได้ดังนี้ 
(๑) เงินได้จากธุรกิจรับจัดสวน 2,000,000 บาท 

(๒) เงินปันผล 160,000 บาท (ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 โดยเงินปันผล ดังกล่าวจ่ายจากกำไรของบริษัทจ ากัดซึ่งเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 และนาย ค เลือกนำเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาประจำปีตามแบบ ภ.ง.ด.90) 

(๓) ดอกเบี้ยรับจากธนาคารพาณิชย์ เอ 900,000 บาท (ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษี โดยถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 และเป็นเงินได้ที่มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 15 ตามที่ได้ถูกหักภาษีไว้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นในการยื่นแบบแสดง รายการภาษีเงินได้ประจำปีตามแบบ ภ.ง.ด.90 ก็ได้ตามมาตรา 48 (3) (ก) แห่งประมวล รัษฎากร) 

นาย ค สามารถนำเงินได้ที่ได้รับดังกล่าวทั้งหมด รวมทั้งเครดิตภาษีเงินปันผลรวม จำนวนทั้งสิ้น 3,100,000 บาท (2,000,000 + 160,000 + 40,000 (เครดิตภาษีเงินปันผล = 160,000 x 20/80) + 900,000 (ดอกเบี้ยรับจากธนาคารตาม (3) ไม่ว่านาย ค จะใช้สิทธิ เลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 หรือไม่ก็ตาม)) มาใช้เป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ดังนี้ 

(ก) ซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้จำนวน 465,000 บาท (3,100,000 x 15% = 465,000) 

(ข) ซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้จำนวน 465,000 บาท (3,100,000 x 15% = 465,000)

อ้างอิง :-คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ลงวันที่ 11 มกราคม 2559



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น