วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

หุ้นสินทรัพย์ตัวใหม่ที่ กรมสรรพากรในยุคดิจิตัลที่จะใช้ไล่ล่าเสียภาษีได้

ตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะให้แบบฟอร์มรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท หรือ บอจ 5 จะต้องใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักแล้ว ทำให้หน่วยราชการมีฐานข้อมูลในการเป็นเจ้าของสินทรัพย์อีกประเภทหนึ่งคือหุ้น ครับ จะมีผลในตรวจสอบการเสียภาษีของหุ้นคือ แค่ป้อนข้อมูลเลขประจำตัวบัตรประชาชนหรือเลขประจำตัวนิติบุคคล 13 หลักก็จะเห็นประวัติการเป็นผู้ถือหุ้น ดังนี้ คือ

1.นิติบุคคลตาม บอจ 5 คือ บริษัท จำกัด

    ถ้าบริษัทจำกัดที่มีกำไรสะสม ไม่ว่าจะเป็นสำรองตามกฎหมาย หรือ กำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรร เมื่อจะจ่ายเงินปันผล หรือเมื่อจะเลิกกิจการ ถ้ายังมีกำไรสะสมอยู่ เท่ากับบริษัทมีภาระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของการจำหน่ายกำไรเท่ากับร้อยละ 10 เช่น ถ้าบริษัทมีกำไรสะสม 1,000,000 บาทก็จะมีภาระภาษีการจ่ายเงินปันผลร้อยละ 10 หรือ เท่ากับ 100,000 บาท

   สรุป ผู้บริหารบริษัทพึงระลึกเสมอว่า กำไรสะสมที่คงเหลือในบัญชีบริษัทมีภาระหนี้สินที่จะต้องชำระภาษีให้กรมสรรพากรร้อยละ 10 นะครับ

2.ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม หลักคือ

    2.1 บุคคลธรรมดา แบ่งตามเงินได้เป็น

      2.1.1 เงินปันผลเมื่อได้รับจะต้องถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 10 แต่ให้สิทธิ์เลือกได้ระหว่างเลือกเสียภาษีร้อยละ 10 หรือนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้บวกเครดิตภาษีเงินปันผล แต่ต้องนำมารวมคำนวณเงินปันผลทุกนิติบุคคล หรือไม่เลือกเลย

การเครดิตภาษีเงินได้จากเงินปันผลบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน
http://tax.bugnoms.com/dividend-from-investment-should-pay-tax/

    2.1.2 กำไรจากการขายหุ้น ถ้าเป็นผู้ขายแล้วผู้ซื้อไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลสามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายในส่วนของผลกำไรจากการขายหุ้น โดยหักภาษีตามตารางภาษีบุคคลธรรมดาอัตราก้าวหน้า

อ้างอิงหนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
http://www.rd.go.th/publish/25417.0.html

ดูสรุปตารางการหัก ภาษี ณ ที่จ่ายข้างล่าง (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือ โอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
http://taxclinic.mof.go.th/pdf/128E587B_B65D_89A7_F9B2_425C2D4F8325.pdf

  2.1.3 ภาษีการให้และการรับ การให้สังหาริมทรัพย์ก่อนตาย
กรณีสังหาริมทรัพย์

– เงินได้ที่ได้รับจาก บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่ สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น

– เงินได้ที่ได้รับจาก การอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา จากบุคคลซึ่ง มิใช่ตามข้อ 1 เฉพาะเงิน ได้ในส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น

– เงินได้ที่ได้รับซึ่งผู้ให้แสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

อ้างอิง http://www.realist.co.th/blog/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%81-2/

  2.1.4 ภาษีมรดก คือสินทรัพย์ที่ให้หลังจากเสียชีวิตแล้ว คือมรดกที่ผู้รับมรดกได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ถ้ามรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีการรับมรดก

 อ้างอิง กรมสรรพากร http://www.rd.go.th/publish/27614.0.html

   2.2 นิติบุคคล แบ่งตามเงินได้เป็น

    2.2.1 เงินปันผล สรุปได้ดังนี้

   ก. 10% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีที่ได้รับยกเว้น
ที่มาจากเอกสารประกอบการสัมมนา ยื่นแบบ ภงด 50 ง่ายกว่าที่คิด
จัดทำโดย นส.พรศิริ เหล่าพัชรกุล และ นส.กัลยาณี ยิ้มย่อง




    2.2.2 กำไรจากการขายหุ้น ไม่มีภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด

อ้างอิง ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
http://www.set.or.th/th/regulations/tax/tax_p1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น