วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เลิกกิจการมีขาดทุนสะสมเกินทุน โดยเป็นหนี้กรรมการ กรรมการแจ้งยกหนี้ให้นิติบุคคลเมื่อเลิก กรมสรรพากรถือเป็นเงินได้ต้องเสียภาษี

เลิกกิจการมีขาดทุนสะสมเกินทุน แจ้งยกหนี้กรรมการให้นิติบุคคล สรรพากรถือเป็นเงินได้กรณี ตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งเงินได้จากกิจการ  กรณีที่กรมสรรพากรไม่เชื่อว่า ขาดทุนจากการดำเนินกิจการ อ้างถึงเอกสารแนบข้างล่าง

คำพิพากษาฎีกาที่ 1438/2548
                      บริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ จำกัด
โจทก์
                      กรมสรรพากร
จำเลย
                      เรื่อง หน้าที่หักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ,กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย,รายจ่ายของค่าเช่า
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 27 ทวิ 65 แห่งประมวลรัษฎากร
                     โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านค่าภาษีที่โจทก์ต้องชำระตามการประเมินจำนวน 50,857.42 บาท คงอุทธรณ์เฉพาะขอให้งดหรือลดเงินเพิ่มเท่านั้น ส่วนเบี้ยปรับไม่มีการเรียกเก็บ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนของเงินภาษีไม่ได้ คงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนในส่วนของเงินเพิ่มตามที่ได้อุทธรณ์คัดค้านไว้ สำหรับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้งดหรือลดเงินเพิ่มนั้น ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลงดเงินเพิ่มได้ ส่วนการลดเงินเพิ่ม      ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 27 กำหนดไว้
              เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นใบแจ้งหนี้ซึ่งแสดงว่าโจทก์มีรายได้ตามเอกสารดังกล่าวแต่มิใช่เอกสารที่แสดงว่าจำนวนเงินหรือรายได้ที่ระบุใบเอกสารนั้นได้มีการบันทึกบัญชีเป็นรายได้แล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีเอกสารหลักฐานอื่น เช่น
   สมุดบัญชีมาเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนว่ารายได้จำนวนดังกล่าวได้บันทึกรายได้ของโจทก์แล้ว จึงรับฟังไม่ได้
  การประเมินรายการนี้ชอบแล้ว
             โจทก์ไม่มีเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ได้กู้ยืมเงินจากกรรมการของโจทก์ ทั้งจำนวนที่อ้างว่าการกู้ยืม ก็มีหน่วยย่อยถึงหลักร้อยหลักสิบและเศษสตางค์นับว่าเป็นข้อพิรุธเพราะในปี 2538 กิจการของโจทก์มียอดรายได้กว่า       100 ล้านบาท ไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะกู้ยืมงินที่มีเศษจำนวนย่อยเช่นนี้ สำหรับหนังสือรับรองที่ระบุว่า ส. รับรองว่าโจทก์       กู้ยืมเงินเมื่อเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2538 จำนวน 5 ล้านบาทและ 1,340,680.58 บาท ทำขึ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2541 หลังจากเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว จึงไม่มีน้ำหนักควรแก่การ    รับฟัง  ส่วนรายการตามงบดุลของโจทก์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 ที่ระบุว่าโจทก์มีเจ้าหนี้และเงินกู้ยืมจากกรรมการจำนวน 2,510,273.81 บาท
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงว่าเงินทั้งสองจำนวนมีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด     พยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าเงินจำนวน 6,340,680.58 บาท เป็นเงินที่โจทก์กู้ยืมเงินจากกรรมการ เงินจำนวน   ดังกล่าวจึงเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในระยะเวลาบัญชีและต้องนำมาคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ   ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มิใช่กรณีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ(4) 
                   ในการนำรายได้และรายจ่ายมาคำนวณกำไรสุทธิประมวลรัษฎากรมาตรา 65 วรรคสอง บัญญัติให้ใช้      เกณฑ์สิทธิโดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นและให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้นแม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แม้โจทก์จะได้จ่ายค่าเช่าสถานที่จำนวน 224,299.07 บาท ไปในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 แต่เมื่อค่าเช่าสถานที่จำนวนดังกล่าวเป็นค่าเช่าสำหรับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่          1 ธันวาคม 2538 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2539 จึงนำมาถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 ทั้งจำนวนไม่ได้  แต่ต้องนำมาคำนวณเฉลี่ยตามส่วนของระยะเวลาการเช่าและนำค่าเช่าส่วนที่อยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 มาถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538

เลขที่หนังสือ : กค 0811/พ./9648
วันที่  : 8 ตุลาคม 2544
เรื่อง  : ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีจ่ายเงินต้นคืนให้แก่บริษัทต่างประเทศผู้ให้กู้เงิน
ข้อกฎหมาย  : มาตรา 65, มาตรา 70, มาตรา 77/2(1)
ข้อหารือ
: บริษัทฯ เป็นนิติบุคคล ที่ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย ร้อยละ 60 และนิติบุคคลต่างประเทศ (ประเทศเนเธอร์แลนด์) ร้อยละ 40 โดยมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 1,000,000 บาท ต่อมาบริษัทฯ ประสบกับภาวะเศรษฐกิจไม่สามารถหากระแสเงินสดมาใช้จ่ายได้ บริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติจึงออกเงินกู้ให้บริษัทฯ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 16,723,378 บาท โดยผู้ถือหุ้น ดังกล่าวจะทำการส่งเงินให้เมื่อบริษัทฯ ต้องการเงินเพื่อใช้จ่ายเป็นคราว ๆ ไป โดยคิดดอกเบี้ยคงที่ ร้อยละ 12 ต่อปี ซึ่งทำให้บริษัทฯ สามารถดำรงอยู่ได้ และหยุดการกู้เงินจากบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2542 แต่อย่างไรก็ดี เนื่องจากบริษัทฯ ยังคงไม่สามารถทำกำไรจากกิจการได้ บริษัท ผู้ถือหุ้นต่างชาติ (ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เงินกู้ด้วย) จึงไม่ต้องการดำรงกิจการนี้ไว้ เนื่องจากบริษัทฯ มีผล ขาดทุนเป็นจำนวนมาก ส่งผลเสียต่องบการเงินรวมของทั้งหมด จึงต้องการขายกิจการทิ้ง แต่เนื่องด้วย บริษัทฯ ยังขาดทุนอยู่ และไม่มีมูลค่าใด ๆ บริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติจึงพยายามจะทำข้อตกลงว่าจะยกหนี้ บางส่วน หรือหุ้นทั้งหมดให้ แต่บริษัทฯ ต้องคืนเงินต้นจำนวนหนึ่งให้โดยทันทีเป็นมูลค่า 50,000 เหรียญ สหรัฐจึงขอทราบว่า

1. ถ้า บริษัทฯ ยินยอมกับข้อตกลงดังกล่าว บริษัทฯ จะบันทึกบัญชีการ เปลี่ยนแปลงจากเงินกู้ มาเป็นรายได้ของบริษัทฯ อย่างไร 

2. บริษัทฯ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในการรับรู้รายได้ดังกล่าว หรือไม่

3. บริษัทฯ ชำระเงินต้นคืนให้แก่บริษัทผู้ให้กู้เงินต่างชาติ บริษัทฯ ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายด้วยหรือไม่ 

สำนักงานสรรพากรภาคเห็นว่า

 1. กรณีตาม 1. กรณีตามข้อเท็จจริงบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติจะทำข้อตกลงว่าจะยกหนี้บางส่วน หรือหุ้นทั้งหมดให้บริษัทฯ ซึ่งหากบริษัทฯ ยอมตามข้อตกลง บริษัทฯ จะต้องบันทึกการเปลี่ยนแปลงจาก เงินกู้มาเป็นรายได้ของบริษัทฯ การคำนวณรายได้ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ ดังนั้น ให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นใน รอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ใน รอบระยะเวลาบัญชีนั้น ตามมาตรา 65 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร 

2. กรณีตาม 2. เมื่อปรากฏว่า บริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติยกหนี้บางส่วนหรือหุ้นทั้งหมดให้บริษัทฯ กรณีจึงถือว่าบริษัทฯ ได้รับเงินได้จากการโอนทรัพย์สิน โดยไม่มีการขายสินค้า หรือให้บริการใดแก่บริษัท ผู้ถือหุ้นต่างชาติ ดังนั้น รายได้ดังกล่าวที่บริษัทฯ ได้รับจึงไม่ใช่ผลตอบแทนจากการขายสินค้าหรือการ ให้บริการ ตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

 3. กรณีตาม 3. กรณีที่บริษัทฯ จะมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ให้กับบริษัท ผู้ถือหุ้น ต่างชาตินั้น จะต้องปรากฏว่ามีลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)(3)(4)(5)หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทยให้บริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ใน การส่งเงินต้นคืนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติที่เป็นผู้ให้กู้ยืมนั้น ไม่เข้าลักษณะของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้

แนววินิจฉัย :

 1. กรณีตาม 1. ความเห็นของสำนักงานสรรพากรภาคถูกต้องแล้ว และขอเพิ่มเติมว่า ในการ บันทึกบัญชีให้บริษัทฯ ถือปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองกันทั่วไป 

  2. กรณีตาม 2. กรณีบริษัทฯ ได้รับเงินได้เนื่องจากบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ ยกหนี้ บางส่วนหรือ หุ้นทั้งหมดให้ ไม่ได้เป็นค่าตอบแทนอันเกิดจากการขายสินค้าหรือให้บริการ จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม 

  3. กรณีตาม 3. กรณีบริษัทฯ ชำระเงินต้นคืนให้แก่บริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ ซึ่งเป็น ผู้ให้กู้เงิน บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด

เลขตู้ : 64/30976

จดทะเบียนบริษัท สำนักงานรับทำบัญชี แจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี สามโคก ปทุมธานี
บริษัท เอส.เค.แอคเคาน์ติ้งอินฟอร์เมชั่น จำกัด โทร 02-575-3007-8
รับจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน บริษัท บุุคคลธรรมดา
รับวางระบบบัญชีด้วยโปรแกรมบัญชี Express
รับวางแผนภาษี และเคลียภาษีสรรพากร
ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI-Business)
รับแก้ไขปัญหาคดีรับหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฐานความผิดไม่ยื่นงบการเงิน
หรือส่งงบการเงินล่าช้า เกินกำหนดดังกล่าว โดยประหยัดและถูกต้อง

ทีมา:- จดหมายตอบข้อหารือกรมสรรพากร

สำนักงานบัญชี บริษัท เอส.เค. แอคเคาน์ติ้ง อินฟอร์เมชั่น จำกัด
85/151 ถนนแจ้งวัฒนะ 27  ตำบลคลองเกลือ
อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี 11120
โทรศัพท์ 02-575-3007 โทรสาร 02-575-3008
ดำเนินการโดย
นักบัญชีรับอนุญาต จากกระทรวงพาณิชย์และสภาวิชาชีพบัญชี

1 ความคิดเห็น: