วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

สำหรับคลีนิคเวชกรรมในช่วงระหว่างที่ขอและรอใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข มีการยืนภาษีมูค่าเพิ่มทุกเดือน บริษัทฯ พึ่งได้ใบอนุญาตจากกระทรวงฯ อยากทราบว่าบริษัทฯ ยังคงต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไปหรือไม่

ที่มา FanPages :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์

คุณ Ampantong Kankaew (29 มีนาคม 2558 เวลา 17:04 น.)
ปุจฉา: อาจารย์คะหนูคำถามจะรบกวนถาม 2 ข้อค่ะ
เนื่องจากบริษัทฯ ที่เพือนทำงานด้วยประกอบธุรกิจ สปา ทรีทเมนท์ และคลีนิคเวชกรรมเสริมความงาม โดยจดทะเบียนนิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มแยกออกจากกัน ธุรกิจอย่างละหนึ่งบริษัท
ข้อ 1. ในกรณีที่ลูกค้าซื้อบริการทรีทเม้นท์และมีการทำสัญญาซื้อขายมูลค่าด้วยมูลค่า 10,000 บาท แต่ลูกค้าชำระเงินแค่ 5,000 บาทอยากทราบว่า ควรนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยจำนวนเงินที่เท่าใด (ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
ข้อ 2. สำหรับคลีนิคเวชกรรมในช่วงระหว่างที่ขอและรอใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข มีการยืนภาษีมูค่าเพิ่มทุกเดือน บริษัทฯ พึ่งได้ใบอนุญาตจากกระทรวงฯ เมื่อประมาณ 2 เดือนที่แล้ว อยากทราบว่าบริษัทฯ ยังคงต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไปหรือไม่ ถ้าไม่ สามารถยื่นแบบ ภ.พ.30 เปล่าทุกเดือน หรือจดทะเบียนยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มเลยได้หรือไม่
รบกวนช่วยตอบให้ด้วยนะคะ
ขอบคุณค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ข้อ 1. กรณีออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ให้ใส่มูลค่าเต็ม 10,000 บาท หักส่วนลดการค้า 5,000 บาท คงเหลือ 5,000 บาท คำนวณภาษีขาย 7% เป็นเงิน 350 บาท
กรณีออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ จะแสดงส่วนลดการให้เห็นชัดแจ้งในใบกำกับภาษีหรือไม่ก็ได้
คำว่า “ส่วนลดการค้า” หมายความ ส่วนลดที่ให้ในขณะที่ขายสินค้าหรือให้บริการตามมาตรา 79 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 2 เมื่อได้รับใบอนุญาตให้รปะกอบกิจการสถานพยาบาลแล้ว หากยังมิได้จดแจ้งเลิกประกอบกิจการภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ ยังคงต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ต่อไป เมื่อได้จดแจ้งเลิกกาประกอบกิจการแล้ว ก็ยังคงต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ต่อไปจนกว่าจะได้รับการแจ้งจากกรมสรรพากรว่า ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น