วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

โอนเงินปันผลค้างจ่ายที่ผู้ถือหุ้น ไม่สามารถรับได้กลับถือเป็นเงินได้ของนิติบุคคลต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอีกครั้ง

สำนักงานบัญชีไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์ทั้งสิ้น
เป็นการนำมาแสดงประกอบข้อกฏหมายอ้างอิง 
เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรโดยมีหลักกฎหมายอ้างอิงเท่านั้น

ที่มา Fanpages :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์

เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการโอนเงินปันผลค้างจ่าย
เลขที่หนังสือ: กค 0811/14765 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2540
ข้อหารือ:
บริษัทฯ ได้ประกาศจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยการจัดสรรจ่ายออกจากกำไรสุทธิ ซึ่งบริษัทลูกค้าได้บันทึกบัญชีรับรู้การจ่ายเงินปันผลเช่นว่านั้นแล้วตามเกณฑ์สิทธิ แต่เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นบางรายขาดคุณสมบัติที่จะได้รับเงินปันผลดังกล่าว ดังนั้นบริษัทลูกค้าจึงมีเงินปันผลที่ยังมิได้มีการจ่ายปรากฏในบัญชี เพราะบริษัทลูกค้าไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่าย บริษัทฯ เข้าใจว่าเงินปันผลค้างจ่ายจากการจัดสรรกำไรสุทธิเมื่อมิได้มีการจ่าย เนื่องจากผู้ถือหุ้นขาดคุณสมบัติที่จะได้รับเงินปันผล นั้น บริษัทลูกค้ามีสิทธิโอนเงินจำนวนดังกล่าวเข้าเป็นเงินกำไรสะสมที่ยังมิได้จัดสรรได้ โดยขอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาเพื่ออนุมัติ ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นกำไรสะสม ซึ่งได้เสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิไปแล้ว บริษัทลูกค้าจึงไม่ต้องนำเงินดังกล่าว มารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรอีกหรือไม่


แนววินิจฉัย:
กรณีบริษัทลูกค้า ได้โอนเงินปันผลค้างจ่ายเนื่องจากผู้ถือหุ้นบางรายขาดคุณสมบัติที่จะได้รับเงินปันผล เข้าเป็นเงินกำไรสะสมที่ยังมิได้จัดสรรของบริษัทลูกค้าตามข้อเท็จจริงข้างต้น เงินปันผลดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรายได้เนื่องจากการประกอบกิจการ ซึ่งบริษัทลูกค้าจะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้: 60/26001
อ้างอิง จดหมายตอบข้อหารือจากกรมสรรพากร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น