วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ภาษีเกี่ยวกับการจ้างผลิต brand sticker line ผู้รับทำเป็นบริษัทในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี โดยผู้สั่งทำมีกิจการอยู่ในไทย ภาษีที่เราต้องรับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องมีอะไรบ้างคะ และอัตราเท่าไร

สำนักงานบัญชีไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์ทั้งสิ้น
เป็นการนำมาแสดงประกอบข้อกฏหมายอ้างอิง 
เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรโดยมีหลักกฎหมายอ้างอิงเท่านั้น

ที่มา Fanpages :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์

คุณ Nufon Nichaphat ได้เขียนไปในไทม์ไลน์ “สุเทพ พงษ์พิทักษ์” เมื่อ 3 เมษายน 2557 เวลา 11:01 น. บริเวณ Makkasan ว่า
“อาจารย์คะ
ขอคำปรึกษาเรื่องภาษีเกี่ยวกับการจ้างผลิต brand sticker line ผู้รับทำเป็นบริษัทในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี โดยผู้สั่งทำมีกิจการอยู่ในไทย ภาษีที่เราต้องรับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องมีอะไรบ้างคะ และอัตราเท่าไร และจะแตกต่างกันหรือไม่ระหว่างเราติดต่อผ่านตัวแทนนายหน้าในไทยกับการสั่งตรงยังบริษัทรับทำในต่างประเทศ”

เรียน คุณ Nufon Nichaphat
LINE Messenger Chat Application เป็นของ NHN Corporation ผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ Search Engine และ เว็บ Portal ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นและเกาหลี Naver.co.kr Naver.co.jp ที่แม้แต่ Google เองยังไม่สามารถเอาชนะได้ NHN Corp มีสาขาทั้งในประเทศเกาหลีใต้และในประเทศญี่ปุ่น โดยธุรกิจหลักคือการขายโฆษณาบนผ่าน Search Engine และการทำเงินผ่าน Game Portal ที่ชื่อว่า Hangame เว็บไซต์เกมพอทัลที่มีสมาชิกมากกว่า 20 ล้านสมาชิก และเป็นเว็บไซต์เกมส์ส่งออกชื่อดังที่คนไทยหลายคนได้เคยติดกันงอมมาแล้ว ทั้งเกมประเภท MMORPG และ Casual Game
LINE Messenger Chat เป็นเพียงหนึ่งในบริการของทาง NHN Corp. เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2011 ในประเทศญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จด้วยการเป็นแอพพลิเคชั่นอันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่นในเวลาเพียง 1 เดือน ทำให้ผู้บริหารของทาง NHN ต้องหันมาใส่ใจเป็นพิเศษและมองหาช่องทางการทำเงินโดยเร็ว ปัจจุบัน LINE ได้ถูกดาวน์โหลดไปใช้งานแล้วกว่า 70 ล้านดาวน์โหลดทั่วโลก ซึ่งรวมการดาวน์โหลดของทุกแพลตฟอร์ม ทั้ง โทรศัพท์มือถือ แทบเบล็ต พีซี ซึ่ง LINE สนับสนุนการใช้งานทั้ง iOS, Android, Windows Phone และ BlackBerry และเปิดให้บริการกว่า 230 ประเทศทั่วโลก และเป็นแอพพลิเคชั่นที่ Rank อันดับ 1 ของ 24 ประเทศ ซึ่งรวมประเทศไทยในนั้นด้วย
หลังจากความสำเร็จของ LINE Messenger Chat NHN ยังต่อยอดแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ให้กับ LINE อีกเช่น LINE Camera, LINE Brush, LINE Card และ LINE Birzzle และล่าสุด เมื่อสัปดาห์ก่อน NHN ได้เปิดตัวเกมใหม่ 3 เกมที่มาพร้อมกับสติ๊กเกอร์ให้เราได้ดาวน์โหลดกัน คือ LINE Pop, LINE Cartoon Wars และ LINE Patapoko Animal
ฟีเจอร์การใช้งานของ LINE นั้นไม่ได้แตกต่างจาก What’s App, MSN Messenger หรือ WeChat ที่ให้เราได้ Chat ตรงกับผู้ใช้ LINE ด้วยกัน ด้วยการส่งข้อความ การสร้างกรุ๊ป Chat และการแชร์ภาพ วิดีโอ เสียง ระหว่างการสนทนา แต่จุดเด่นของ LINE คือ Voice Call ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่สามารถให้เราใช้แทนโทรศัพท์ได้ ทั้งในและต่างประเทศโดยไม่เสียเงิน อย่างไรก็ตาม Voice Call ก็ยังสู้ไม่ได้กับ Sticker ที่ผู้ใช้งานดูเหมือนจะเลิฟมากที่สุด คือ สติ๊กเกอร์ที่เราใช้แสดงอารมณ์ผ่านการพูดคุย และด้วยความน่ารัก จึงทำให้การแชทผ่าน LINE มีเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ


ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า



1. ภาษีที่ผู้สั่งทำซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทยต้องรับผิดชอบหรือเกี่ยวข้อง สำหรับการจ้างผลิต brand sticker line กับผู้รับทำเป็นบริษัทในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี
(1) กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากการจัดทำ brand sticker line เป็นการทำด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือเป็น “งานวรรณกรรม” ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร แม้ผู้รับทำจะเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งมีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย บริษัทฯ ผู้สั่งทำก็มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
- ตามข้อ 12 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากร ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้กำหนดให้คำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายในอัตรา 15
- ตามข้อ 12 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากร ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้กำหนดให้คำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายในอัตรา 5

(2) กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม การจัดทำ brand sticker line หากเป็นกรณีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในซอฟท์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยเด็ดขาด ถือเป็นการนำเข้าสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง บริษัทฯ ผู้สั่งทำไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ไม่มีประเด็นความแตกต่างทางภาษีอากร ระหว่างการติดต่อผ่านตัวแทนนายหน้าในไทยกับการสั่งตรงยังบริษัทรับทำในต่างประเทศ บริษัทฯ ผู้สั่งทำก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติทางภาษีอากรตามข้อ 1 เช่นเดียวกัน สำหรับประเด็นราคา และความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งต่างหาก

รูปประกอบที่มา : วารสารกรมสรรพากร เดือนสิงหาคม 57



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น