วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุป พระราชกฤษฎีกา ลดและยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับสนับสนุนผู้จดแจ้ง พรก.นิรโทษภาษีอากร 58


แหล่งที่มา:- พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร 
                 ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๙๕)พ.ศ. ๒๕๕๘

สิทธิ์ประโยชน์ ตามพรก ฉบับนี้

ยกเว้นเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้
                                กำไรทางภาษี                  อัตราภาษีร้อยละ

ปี 2559                           ทั้งหมด                       0

ปี 2560                   กำไร 0 – 300,000 บาท              0
                                300,001 บาท ขึ้นไป              10%

ปี 2561                 หลังจากนั้นเข้าสู่อัตราภาษีร้อยละของปกติ

เงื่อนไขคุณสมบัติเพื่อใช้สิทธิ์นี้

1.ไม่มีทุนที่ชําระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินห้าล้านบาทและไม่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินสามสิบล้านบาท

2. ได้จดแจ้งเป็นผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการ เกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร (อ่านเพิ่มเติม พรก.ยกเว้นและสนับสนุน)

3. ไม่ถูกเพิกถอนการได้รับยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการ เกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร


สรุป ถ้าจดแจ้งขอใช้สิทธิ์ต่อมาพรก.ฉบับนี้ต่อมาตรวจพบการเลี่ยงภาษี  แล้วต่อมาถูกเพิกถอนสิทธิ์ ก็จะหมดสิทธิ์นี้และถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลังครับ

แหล่งที่มา :- พรก.ฉบับเต็มเพื่อใช้ค้นคว้าอ้างอิงรายละเอียด ครับ
                http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/001/5.PDF

ที่มา Fanpage :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์
ข้อมูลเพิ่มเติม ท่านอ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์ไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับสำนักงานบัญชี เป็นการนำมาเผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่ผู้เสียภาษีให้ถูกต้องเท่านั้น ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์มา  ณที่นี้ด้วย ครับ


คุณ Nok OK (12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 22:02 น.) 

ปุจฉา: ตามพระราชกฤฎีกาฯ "ม. 6 (1) ไม่มีทุนที่ชำระแล้วรอบบัญชีใดเกิน 5 ล้านและไม่มีรายได้รอบใดเกิน 30 ล้านบาท" หมายถึงจากปี2558 ขึ้นไป (คือปี 2559 เกิน 30 ล้านก็ถูกถอนสิทธิ) ไหมคะ? และ ตั้งแต่ปี 2558 ลงไปกี่ปีคะที่รายได้ไม่เกิน 30 ล้าน เพราะเปิดมา 25 ปี ต้องกลับไปดูย้อนหลังกี่ปีคะ?
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา: 
ตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 บัญญัติว่า
"มาตรา 8 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 6 และการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 7 ต้องไม่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินห้าล้านบาทและต้องไม่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินสามสิบล้านบาท ทั้งนี้ ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป"
ดังนั้น หากตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 เป็นต้นไป กิจการ SMEs ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งสองข้อ กิจการนั้น ย่อมไม่ได้สิทธิเป็น SMEs ที่จะลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีนั้นเป็นต้นไป และไม่อาจกล้บคืนมาได้สิทธิดังเช่นพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับก่อนๆ อีกต่อไป
ตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า
"มาตรา 6 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) ไม่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินห้าล้านบาทและไม่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินสามสิบล้านบาท
(2) ได้จดแจ้งเป็นผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(3) ไม่ถูกเพิกถอนการได้รับยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร"

ดังนั้น การพิจารณาเงื่อนไขตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 ไม่อาจพิจารณาเป็นรายรอบระยะเวลาบัญชีดังเช่นที่เคยเป็นตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 ได้อีกแล้ว เนื่องจากได้มีการกำหนดเงื่อนไขใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม โดยให้พิจารณาว่า ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 เป็นต้นมาเท่านั้น ไม่ต้องย้อนกลับไปถึง 25 ปีดอกครับ หากตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 เป็นต้นมาจนถึงรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 กิจการ SMEs มีรอบระยะเวลาบัญชีปีใดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 530) กล่าวคือ มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินห้าล้านบาท และหรือ่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินสามสิบล้านบาท ก็ย่อมเสียสิทธิตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป ไม่อาจจะกลับมาใช้สิทธิตามตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 ได้อีกเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น