วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

ค่าไฟฟ้า น้ำประปา ที่ไม่ใช่ชื่อกิจการจะนำมาบันทึกค่าใช้จ่ายได้อย่างไร

เงื่อนไขเพิ่มเติม
        รายจ่ายที่เกี่ยวข้อง กรณีเช่าสถานประกอบการซึ่ง เป็นที่อยู่อาศัยของกรรมการด้วย หรือกรณีใช้ทรัพย์สินร่วมกัน กับกิจการหรือบุคคลอื่น กรณีต้องการนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาถือเป็นภาษีซื้อของกิจการ
        หมายเหตุ - ให้เฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายของ กิจการได้ตามเกณฑ์ที่เหมาะสม

กรณีลงภาษีซื้อหักจากภาษีขาย

หลักฐานที่ควรมีประกอบ

1) สัญญาเช่าอาคาร ซึ่งระบุ ให้ผู้เช่าเป็นผู้ชำระค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา
2) ควรติดต่อกับการไฟฟ้าฯ หรือการประปาฯ เพื่อขอ เพิ่มชื่อของบริษัทฯ ลงใน ใบก ากับภาษี โดยเพิ่มเติม ข้อความว่า "จ่ายชำระ ค่าบริการโดย บริษัท..." ลงไปด้วย บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบก ากับภาษี ดังกล่าว ไปถือเป็นภาษีซื้อใน การค านวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 ได้ (หนังสือที่กค 0702/พ./1319 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552)


เลขที่หนังสือ: กค 0702/พ./1319
วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2552
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้า
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(20) มาตรา 82/5(1) และมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัท B (บริษัทฯ) ประกอบกิจการรับจ้างดำเนินการเกี่ยวกับระบบการผลิตน้ำประปาให้แก่บริษัท P ณ โรงผลิต น้ำประปา ของ P แล้วสูบเพื่อส่งน้ำประปาไปยังสถานีจ่ายน้ำ ซึ่งทำหน้าที่จ่ายน้ำประปาให้แก่ผู้บริโภค โดยมีระยะการผลิต ถึงปี พ.ศ. 2566 ในการดำเนินงานดังกล่าว บริษัทฯ ต้องเข้าไปดำเนินงานในสถานประกอบการของ P ได้แก่ สถานีจ่ายน้ำ สถานีเพิ่มแรงดัน และโรงกรองน้ำ โดยในสัญญาว่าจ้างกำหนดให้บริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าเอง แต่ใบกำกับ ภาษีค่าไฟฟ้าระบุชื่อ ที่อยู่ของ P ซึ่งเป็นเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้า บริษัทฯ จึงมีความประสงค์จะขอจดเพิ่มสาขาตามสถานที่มิเตอร์ ไฟฟ้าติดตั้งอยู่ เพื่อบริษัทฯ จะนำใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้ามาใช้ได้อย่างถูกต้อง บริษัทฯ จึงขอหารือ ดังนี้
          1. บริษัทฯ สามารถขอจดเพิ่มสาขาตามสถานที่ที่ได้ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าได้หรือไม่
          2. หากดำเนินการตาม 1. ไม่ได้ บริษัทฯ จะขอเพิ่มชื่อบริษัทฯ ในใบกำกับภาษีของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (การไฟฟ้าฯ) แต่ที่อยู่ยังคงเป็นที่อยู่ตามสถานที่ตั้งของมิเตอร์ไฟฟ้า เพื่อที่บริษัทฯ สามารถนำใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย          1. กรณีตาม 1. เนื่องจากบริษัทฯ ใช้สถานประกอบการของผู้ว่าจ้างเพื่อให้บริการตามสัญญาที่บริษัทฯ มีต่อผู้ว่าจ้างเท่านั้น บริษัทฯ มิได้ใช้สถานที่ดังกล่าวเพื่อประกอบกิจการของตนเองเป็นการทั่วไป ดังนั้น สถานีจ่ายน้ำ สถานีเพิ่มแรงดันและโรงกรองน้ำ ที่ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า จึงไม่ใช่สถานประกอบการของบริษัทฯ ตามมาตรา 77/1 (20) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ ต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/7 แห่งประมวลรัษฎากร
          2. กรณีตาม 2. หากบริษัทฯ เป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฯ เองโดยตรงแต่ใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้าระบุชื่อ ที่อยู่ของ P บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าว มาถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 และ มาตรา 82/5(1) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี หากบริษัทฯ ติดต่อกับการไฟฟ้าฯ เพื่อขอเพิ่มชื่อของบริษัทฯ ลงในใบกำกับภาษี โดยเพิ่มเติม ข้อความว่า "จ่ายชำระค่าบริการโดย บริษัท B" ลงไปด้วย บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าว ไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้
เลขตู้: 72/36421
clear-gif

กรณีลงภาษีซื้อเป็นค่าใช้จ่ายบวกกลับ

- สัญญาเช่า หมายเหตุ - ให้เฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายของ กิจการได้ตามเกณฑ์ที่เหมาะสม 

- ถ้าใบกำกับภาษีซื้อไม่ได้ เป็นชื่อของผู้เช่า ภาษีซื้อขอคืน ไม่ได้ หมายเหตุใบกำกับภาษีที่มิได้ระบุชื่อ ผู้ประกอบการนั้น ผู้ประกอบการไม่มี สิทธินำใบกำกับภาษีดังกล่าวมาเป็น ภาษีซื้อเพื่อหักจากภาษีขายในการ คำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 เนื่องจากใบก ากับภาษีดังกล่าวถือเป็น ภาษีซื้อต้องห้าม ตามมาตรา 82/5 (1) แต่ผู้ประกอบการมีสิทธินำค่าน้ำ ค่าไฟ ดังกล่าวมาเป็นค่าใช้จ่ายในการ คำนวณภาษีเงินได้ได้เนื่องจากเป็น ค่าใช้จ่ายเพื่อการหากำไรหรือเพื่อ กิจการโดยเฉพาะ ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี แต่สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี ดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม บริษัทฯ ไม่มีสิทธิน ามาเป็นรายจ่ายใน การคำนวณหากำไรสุทธิได้ ตามมาตรา 65 ตรี(6 ทวิ) ทั้งนี้ตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ว่าด้วยการ ก าหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้ พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 (หนังสือที่ กค 0811(กม)/พ.277 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2542)



เลขที่หนังสือ: กค 0811(กม)/พ.277
วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2542
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม แนวทางปฏิบัติในการออกใบกำกับภาษีสำหรับกิจการรายย่อย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี, มาตรา 82/3, มาตรา 82/5, มาตรา 86/4, มาตรา 86/6, มาตรา 87,
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7)
พ.ศ. 2534 ฯ และ (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2535 ฯ
ข้อหารือ: 1. การดำเนินกิจการขายอาหารหรือขายสินค้าเบ็ดเตล็ด และได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในอัตราร้อยละ 10.0 ไม่เคยมีรายรับเดือนใดถึง 100,000 บาท และขายสินค้าแต่ละครั้งไม่เกิน 500
บาท จะออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ โดยรวมมูลค่าการขายสินค้าวันละ 1 ฉบับได้หรือไม่
2. สถานที่ตั้งของกิจการไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ประกอบการ ฉะนั้น ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำประปา
ค่าไฟฟ้าในการประกอบกิจการที่เป็นชื่อของเจ้าของสถานที่ ผู้ประกอบการมีสิทธินำใบเสร็จรับเงิน
ใบกำกับภาษีจากค่าใช้จ่ายดังกล่าว มาเป็นภาษีซื้อ เพื่อหักภาษีขายได้หรือไม่ และนำมาเป็นค่าใช้จ่าย
ปลายปีได้หรือไม่
3. หากผู้ประกอบการไปจดทะเบียนเป็นบริษัทฯ ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีค่าน้ำค่าไฟ
ค่าโทรศัพท์ซึ่งเกิดจากการประกอบกิจการ แต่เป็นชื่อของบุคคลธรรมดา ที่อยู่ตรงกับที่อยู่ของบริษัทฯ ที่ได้
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ จะนำใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีดังกล่าวมาเป็นภาษีซื้อ และค่าใช้จ่าย
ของบริษัทได้หรือไม่เนื่องจากชื่อไม่ตรงกับบริษัทฯ ผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. กรณีตาม 3. จะนำใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีดังกล่าวมาเป็นภาษีซื้อไม่ได้ ต้องห้าม
ตามมาตรา 82/5 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่บริษัทฯ มีสิทธินำค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า
ดังกล่าว มาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ได้ สำหรับภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวมีลักษณะเป็น
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระหรือพึงชำระ จึงต้องห้ามไม่ให้ถือเอาภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวมาเป็นรายจ่าย ใน
การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย: 1. กรณีตาม 1. หากผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อเท็จจริงเป็นผู้ขายที่ทราบโดยชัดแจ้ง
ว่า เป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง และได้ขายในปริมาณ ซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้น จะนำ
สินค้าไปบริโภคหรือใช้สอยโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ หรือเป็นการให้บริการในลักษณะ
บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เข้าลักษณะเป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่ง
ประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32)ฯ ลงวันที่
8 เมษายน พ.ศ. 2535 ผู้ประกอบการดังกล่าว มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่ง
ประมวลรัษฎากรได้ เว้นแต่ผู้ซื้อเรียกร้องให้ออกใบกำกับภาษีที่มีรายการครบถ้วน ตามมาตรา 86/4
แห่งประมวลรัษฎากร และหากการขายสินค้าหรือบริการรายย่อยดังกล่าว ได้ขายสินค้าหรือบริการ โดย
ไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 100,000 บาท ผู้ประกอบการไม่จำต้องออกใบกำกับภาษี
สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 500 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับ
บริการจะเรียกร้อง โดยให้ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษีรวบรวมการขายสินค้าหรือการให้บริการที่
มูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 500 บาท ในหนึ่งวันทำการ เพื่อเป็นเอกสารประกอบการลงรายงานภาษีขาย
ตามมาตรา 87 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7)ฯ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2534
โดยใบกำกับภาษีดังกล่าว สามารถจัดทำเป็นใบกำกับภาษีอย่างย่อ ตามมาตรา 86/6 แห่ง
ประมวลรัษฎากรได้
2. กรณีตาม 2. ใบกำกับภาษีที่มิได้ระบุชื่อผู้ประกอบการนั้น ผู้ประกอบการ ไม่มีสิทธินำ
ใบกำกับภาษีดังกล่าวมาเป็นภาษีซื้อเพื่อหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 แห่ง
ประมวลรัษฎากรเนื่องจากใบกำกับภาษีดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ตามมาตรา 82/5 (1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร แต่ผู้ประกอบการมีสิทธินำค่าน้ำ ค่าไฟ ดังกล่าวมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษี
เงินได้บุคคลธรรมดาได้เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ไม่ต้องห้าม
ตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แต่สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีดังกล่าวถือเป็น
รายจ่ายต้องห้าม บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณหากำไรสุทธิได้ ตามมาตรา 65 ตรี
(6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ว่าด้วยการกำหนด
ค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502
เลขตู้: 62/27581

คลิกลิงก์อ่านทั้งฉบับได้ข้างล่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น