วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ของกิจการร่วมค้า


1.อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการร่วมค้า ต้องใช้อัตราปกติ ไม่ได้สิทธิ SME

อ้างอิง :-
เลขที่หนังสือ: กค 0702/2018
วันที่: 17 มีนาคม 2553
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการร่วมค้า
ข้อกฎหมาย: มาตรา 39 มาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 4 มาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 471) พ.ศ. 2551
ข้อหารือ          กรณีกิจการร่วมค้าฯ คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ถูกต้องครบถ้วน เนื่องจากกิจการร่วมค้าฯ คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยใช้อัตราลดภาษี ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 431) พ.ศ. 2548 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 471) พ.ศ. 2551 ซึ่งกิจการร่วมค้าฯ เห็นว่า กิจการร่วมค้าฯ ถือเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และมีเงินลงทุนไม่เกิน 5,000,000 บาท ถือเป็นกิจการขนาดย่อม (SMEs) จึงมีสิทธิลดอัตราภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ จึงขอทราบว่า กิจการร่วมค้าฯ มีสิทธิใช้สิทธิประโยชน์ในการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 431) พ.ศ. 2548 และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 471) พ.ศ. 2551 ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย          1.กรณีกิจการร่วมค้าฯ ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่เข้าลักษณะเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในฐานะเป็นหน่วยภาษีเช่นเดียวกับนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไทย กิจการร่วมค้าฯ ต้องนำเงินได้ที่ได้รับจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ มาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ในนามกิจการร่วมค้าฯ
          2. กรณีตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 471) พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า
          "...
          มาตรา 4 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้ตาม (ก) ของ (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ ท้ายหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท
               (1) ร้อยละสิบห้าของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท แต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท
               (2) ร้อยละยี่สิบห้าของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งล้านบาท แต่ไม่เกินสามล้านบาท
               มาตรา 5 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลดังกล่าว เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
               ...."
               ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว นั้น หมายถึง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น
               ดังนั้น กรณีตาม 1. และ 2. กิจการร่วมค้าฯ ซึ่งไม่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับดังกล่าว แต่อย่างใด
เลขตู้: 73/37203

2.ผลขาดทุนจากกิจการร่วมค้า สามารถบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ตามสัดส่วนเมื่อเลิกกิจการและมีผลขาดทุนจากการชำระบัญชี

ค่าเผื่อการลดมูลค่าเงินลงทุนทางบัญชี ไม่สามารถบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ต้องบวกกลับ แล้วรอจนเลิกกิจการชำระบัญชี

อ้างอิง

เลขที่หนังสือ: กค 0702/3143
วันที่: 10 มิถุนายน 2551
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลขาดทุนจากการลงทุนในกิจการร่วมค้า
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี (13) และมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          กรณีบริษัท A ขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัท A ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2550 บริษัท A จึงขอทราบว่า ผลขาดทุนจากการลงทุนในกิจการร่วมค้า บริษัท A มีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการ คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่
แนววินิจฉัย
          กรณีกิจการร่วมค้า ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้อง เข้าลักษณะ ดังต่อไปนี้
          1. ได้ตกลงเข้าร่วมทุนกัน ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน แรงงานหรือเทคโนโลยี หรือร่วมกันในผลกำไร หรือขาดทุนอันจะพึงได้ตามสัญญาที่กระทำร่วมกันกับบุคคลภายนอก หรือ
          2. ได้ร่วมกันทำสัญญากับบุคคลภายนอก โดยระบุในสัญญาว่า เป็นกิจการร่วมค้า
          3. ได้ร่วมกันทำสัญญากับบุคคลภายนอก โดยสัญญากำหนดให้ต้องรับผิดร่วมกันในงานที่ทำไม่ว่า ทั้งหมดหรือบางส่วน และต้องรับค่าตอบแทนตามสัญญาร่วมกัน โดยสัญญาไม่ได้แบ่งแยกงานและค่าตอบแทน ระหว่างกันไว้อย่างชัดเจน
          หากกิจการร่วมค้าระหว่างบริษัท A และ B เข้าลักษณะเป็นกิจการร่วมค้าดังกล่าว ถือว่ากิจการร่วมค้า เป็นคนละหน่วยภาษีกับบริษัทผู้เข้าร่วมค้า อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผลขาดทุนสุทธิของกิจการร่วมค้าจะนำมาหักเป็นรายจ่ายของบริษัทผู้เข้าร่วมค้าไม่ได้ แต่ถ้ากิจการ ร่วมค้าเลิกประกอบกิจการ และได้จัดแบ่งคืนทุนให้แก่บริษัทผู้เข้าร่วมค้า เป็นจำนวนต่ำกว่าทุนที่ลงในกิจการ ร่วมค้า กรณีย่อมถือได้ว่าผลขาดทุนจากการลงทุนนั้นเป็นผลขาดทุนที่เกิดจากการประกอบกิจการของบริษัท ผู้เข้าร่วมค้าและเนื่องจากบริษัท A อยู่ระหว่างการตรวจคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ดังนั้น หากผลการตรวจของเจ้าพนักงานฯ ปรากฏ โดยชัดแจ้งว่า กิจการร่วมค้าได้เลิกประกอบกิจการและบริษัท A มีผลขาดทุนจากการลงทุนในกิจการร่วมค้า บริษัท A ย่อมมีสิทธินำผลขาดทุนจากการลงทุนนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี เงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 71/35930

3.ส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับจากกิจการร่วมค้าได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในนามของกิจการร่วมค้า 

อ้างอิง

 “มาตรา 5 ทวิ  ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ให้แก่

                    (1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.119/2545)
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.122/2545)

                    (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและประกอบกิจการในประเทศไทย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 108) พ.ศ. 2524 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีในหรือหลัง 31 ธันวาคม 2523 เป็นต้นไป)  

เลขที่หนังสือ: กค 0811/04292
วันที่: 9 เมษายน 2541
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีกิจการร่วมค้า
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65, มาตรา 66, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500, พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 108) พ.ศ. 2524
ข้อหารือ: บริษัท A จำกัด บริษัท B จำกัด บริษัท C จำกัด บริษัท D จำกัด บริษัท E จำกัด และ
บริษัท F จำกัด ร่วมกันซื้อที่ดิน 1 แปลง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อสร้างท่อรับและส่งผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบ
เช่น การวางท่อส่งก๊าซต่าง ๆ ท่อส่งของเหลวหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นในลักษณะเดียวกัน ในการร่วมกันซื้อ
ที่ดินดังกล่าวได้มีเงื่อนไขว่า หากมีบุคคลอื่นที่ประกอบกิจการอย่างเดียวกันประสงค์จะใช้ประโยชน์ใน
วัตถุประสงค์อย่างเดียวกันผู้ถือกรรมสิทธิ์เดิมทั้ง 6 ต้องให้ความยินยอม และผู้ขอเข้าร่วมกรรมสิทธิ์ต้อง
จ่ายค่าที่ดินให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์เดิมพร้อมดอกเบี้ย ขอหารือว่า
1. กิจการดังกล่าวเป็นกิจการร่วมค้าหรือไม่
2. หากว่าไม่เป็นกิจการร่วมค้า จะให้บริษัทปฏิบัติในการรับ-จ่ายอย่างไร
3. หากว่าเป็นกิจการร่วมค้า เมื่อรับเงินค่าที่ดินจากบุคคลที่เข้าร่วมกรรมสิทธิ์ใหม่แล้ว
กิจการร่วมค้าจะต้องจ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะและจะจ่ายคืนค่าที่ดินตามราคาที่ซื้อมาให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์เดิม
ทั้ง 6 รายได้หรือไม่
4. ผลกำไร หมายถึง ดอกเบี้ยที่คิดเท่ากับ N = A/x(1+i)n ของบันทึกข้อตกลงหลังหัก
ค่าใช้จ่ายจะต้องนำไปเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 30 จากนั้นจะแบ่งให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์เดิมทั้ง 6 ราย
รายละเท่า ๆ กัน โดยผู้รับไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอีกใช่หรือไม่
N = ค่าที่ดินที่ผู้ประสงค์เข้าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมรายใหม่ต้องชำระ
I = MOR + 3% (ใช้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ณ วัน
ลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายกับเจ้าของร่วม
A = ราคาที่ดินที่จัดซื้อจากผู้ขาย
x = จำนวนผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมรายเดิม + จำนวนผู้ประสงค์เข้าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ราย
ใหม่
n = ระยะเวลานับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย
แนววินิจฉัย: 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
การดำเนินกิจการของบริษัททั้ง 6 ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เข้าลักษณะเป็น
กิจการร่วมค้า จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร ใน
การคำนวณรายได้และรายจ่ายให้ใช้เกณฑ์สิทธิ์ โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่า
จะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้
นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็น
รายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
ผลกำไรที่บริษัททั้ง 6 ได้จากการประกอบกิจการตามข้อเท็จจริงดังกล่าว บริษัททั้ง 6
ในฐานะกิจการร่วมค้า ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ
สำหรับเงินส่วนแบ่งกำไรที่บริษัทฯ ผู้เข้าร่วมค้า ซึ่งเป็นบริษัทฯ หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม
กฎหมายไทย ได้รับจากกิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตามมาตรา 5 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ
(ฉบับที่ 108) พ.ศ. 2524 ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2524
2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
กรณีบริษัททั้ง 6 ยอมให้บุคคลอื่นเข้ามาถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ถือ
เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 91/1 (4) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสีย
ภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 61/26576

4.ปัญหาที่พบในกิจการค้า ในทางปฎิบัติในบางกรณีพบว่า ทำสัญญาในนามกิจการร่วมค้า แต่ทำธุรกรรมจริงไปทำที่นิติบุคคลที่เป็นหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้า กรมสรรพากรไม่ยอมรับ ต้องดำเนินการเสียภาษีในนามกิจการร่วมค้าตามสัญญา

อ้างอิง

เลขที่หนังสือ: กค 0706/12382
วันที่: 21 ธันวาคม 2550
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีกิจการร่วมค้า
ข้อกฎหมาย: มาตรา 39 และมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัท ช. และบริษัท ก. ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย ได้เข้าทำสัญญากับ ค.ในนามกิจการร่วมค้า บ. (กิจการร่วมค้า บ.) เพื่อรับจ้างก่อสร้างโครงการ ให้กับ ค. สัญญาที่ทำไว้กับ ค. ระบุให้บริษัททั้งสองต้องร่วมกันดำเนินงาน ในลักษณะของผู้ร่วมดำเนินกิจการ ทั้งในส่วนของรายละเอียดขอบเขตการก่อสร้าง ระบบการก่อสร้าง ค่าตอบแทน เงินล่วงหน้า การชดใช้เงินล่วงหน้า การจัดหาที่ดิน การแบ่งงวดงานการก่อสร้าง และความรับผิดชอบต่องานตามสัญญา ซึ่งเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม
          อย่างไรก็ตามบริษัททั้งสองได้ทำบันทึกข้อตกลงในระหว่างกันเองในการร่วมกันทำงานโครงการก่อสร้างตามบันทึกข้อตกลงในการร่วมทำงานในโครงการก่อสร้างบ้าน ซึ่งได้กำหนดให้บริษัททั้งสองแบ่งแยกงานค่าใช้จ่าย ค่าตอบแทน และความรับผิดชอบต่องานตามสัญญา ดังนี้
          1. ช. มีหน้าที่ก่อสร้างอาคาร ระบบสาธารณูปโภคภายนอกอาคาร ติดตั้งระบบไฟฟ้า และน้ำประปา ส่วน ก. มีหน้าที่จัดหาที่ดิน ถมดิน และประสานงานเกี่ยวกับเรื่องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
          2. ช. รับผิดชอบค่าตรวจสอบ ค่าใช้จ่ายในการติดตามผลงานเป็นเวลา 5 ปี ค่าปรับเนื่องจากงานล่าช้า และต้องวางเงินกับธนาคารเพื่อประกันการชำรุดเป็นเวลา 2 ปี ส่วน ก. รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขออนุญาตก่อสร้างอาคารสำนักงาน
          3. ช. ได้รับรายได้โดยตรงจาก ค. ในส่วนของค่าก่อสร้างอาคาร ระบบสาธารณูปโภค ส่วน ก. ได้รับรายได้โดยตรงจากส่วนของค่าที่ดิน
          4. ช. รับผิดชอบค่าเสียหายเนื่องจากการดำเนินงานล่าช้าในส่วนของ ช.ให้แก่ ค. ส่วน ก. รับผิดในความชำรุด บกพร่องจากงานถมดิน
          บริษัททั้งสอง จึงขอหารือว่า ค่าตอบแทนที่ได้รับจาก ค. สำหรับโครงการก่อสร้างดังกล่าว จะต้องเสียภาษีอากรในนามของกิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือของบริษัททั้งสองแยกต่างหากจากกัน
แนววินิจฉัย          หากการแบ่งแยกงาน ค่าใช้จ่าย ความรับผิดชอบ และค่าตอบแทน เป็นความตกลงที่ทำขึ้นระหว่างบริษัททั้งสองที่เข้าร่วมกิจการร่วมค้าเท่านั้น โดยภายใต้สัญญาการก่อสร้างกับ ค. บริษัททั้งสองอยู่ในฐานะผู้ร่วมดำเนินกิจการที่ไม่มี ทั้งข้อกำหนดในการแบ่งแยกงาน และค่าตอบแทนออกจากกันอย่างชัดแจ้งแต่อย่างใด ดังนั้น การดำเนินกิจการร่วมกันของบริษัททั้งสองดังกล่าว จึงเข้าลักษณะเป็นกิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรซึ่งถือเป็นกิจการร่วมค้า ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร กิจการร่วมค้า บ. ต้องนำเงินได้ที่ได้รับจากการก่อสร้างโครงการฯ มาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากรในนามของกิจการร่วมค้า
เลขตู้: 70/35528

เลขที่หนังสือ: กค 0706/12698
วันที่: 22 ธันวาคม 2546
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการประกอบกิจการร่วมกันของนิติบุคคล
ข้อกฎหมาย: มาตรา 39
ข้อหารือ: บริษัทฯ หารือเกี่ยวกับลักษณะการประกอบกิจการของนิติบุคคล มีรายละเอียดดังนี้
1. บริษัท อ. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉ. ได้ทำหนังสือสัญญากิจการร่วมค้า ลงวันที่ 2
กุมภาพันธ์ 2546 สรุปได้ว่า
1.1 วัตถุประสงค์ของการร่วมค้า เพื่อเข้าร่วมกันประกวดราคาก่อสร้างปรับปรุงท่าเรือ
ท่องเที่ยวบนเกาะสมุย (ท่าเรือเล็กและท่าเรือยอร์ช) ของเทศบาลตำบลเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
1.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉ. เป็นผู้รับผิดชอบหลักและตกลงมอบอำนาจให้บริษัทฯ โดย นาย
จ. เป็นผู้มีอำนาจเต็มในการประกวดราคา รวมถึงดูสถานที่ก่อสร้างและรับฟังคำชี้แจงเพิ่มเติม ยื่นซอง
ประกวดราคา การเสนอราคาและลงนามในใบเสนอราคา การต่อรองราคา และการทำสัญญาจ้างของ
งานดังกล่าว และคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงอนุญาตให้ผลงานก่อสร้างของแต่ละฝ่ายใช้ดำเนินการเพื่อการนี้
กับเทศบาลตำบลเกาะสมุย
1.3 ทั้งสองฝ่ายใช้ชื่อว่า กิจการร่วมค้า บริษัท อ. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉ. แต่
ไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่
1.4 ทั้งสองฝ่ายเข้ามีส่วนร่วมในสิทธิและความรับผิดที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับ
กิจการร่วมค้า โดยเฉพาะในผลกำไรหรือผลขาดทุน โดยแต่ละฝ่ายรับผิดชอบร้อยละ 50
2. กิจการร่วมค้า บริษัท อ. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉ. ได้เข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้าง
ปรับปรุงท่าเรือท่องเที่ยวบนเกาะสมุย
3. กิจการร่วมค้าฯ ได้มีหนังสือถึงนายกเทศมนตรีตำบลเกาะสมุย โดยให้บริษัท อ.เป็น
ผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่เพียงผู้เดียวเต็ม 100%
4. หนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่ 10 มีนาคม 2546 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉ. โดยนางสาว น.
ได้มอบอำนาจให้บริษัทฯ โดย นาย จ. มีอำนาจกระทำการแทนในกิจการร่วมค้าฯ และอีกในนามของ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉ. ดังนี้
4.1 ให้มีอำนาจเข้าทำสัญญาจ้างในนามของกิจการร่วมค้า
4.2 ให้เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานก่อสร้าง
4.3 ให้มีอำนาจเสนอแก้ไขแบบแปลนการก่อสร้าง ค่าจ้าง การจ่ายเงินงวดงาน
4.4 ให้มีอำนาจรับเงินเบิกจ่าย
บริษัทฯ เห็นว่า แม้จะใช้ชื่อในการทำสัญญากับคู่สัญญาว่าเป็นกิจการร่วมค้า แต่การร่วมกันของ
ทั้งสองกิจการไม่เป็นกิจการร่วมค้าเพราะลักษณะของการร่วมกิจการของบริษัทฯไม่มีลักษณะของ
กิจการร่วมค้า (Joint Venture) แต่เป็นลักษณะของกลุ่มบริษัท (Consortium)เนื่องจาก
1. บริษัททั้งสองมิได้ร่วมลงทุนในกิจการ เป็นต้นว่า ค่าวัสดุก่อสร้าง บริษัทฯ เป็นผู้มี
ค่าใช้จ่ายเพียงฝ่ายเดียว ด้วยหลักฐานใบกำกับภาษีและใบสำคัญอื่น ๆ โดยข้อเท็จจริง บริษัทฯ เป็น
ผู้ลงทุนฝ่ายเดียว 100%
2. ไม่มีการแบ่งผลกำไรขาดทุนระหว่างกัน เนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉ. มิได้ลงทุนในการ
ก่อ 1 สร้าง
3. หากบริษัทร่วมค้าต้องจดทะเบียนนิติบุคคลขึ้นใหม่ จะมีสถานะเป็นนิติบุคคลใหม่ แต่เมื่อ
ทั้งสองมิได้จดทะเบียนใหม่ จึงมีสถานะเป็นกลุ่มบริษัท (Consortium) และไม่เป็นหน่วยภาษีใหม่ และ
ไม่ต้องขอมีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
4. ในการรับเงินค่าก่อสร้างจากผู้ว่าจ้างตามงวดงาน ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายเงินในนาม บริษัทฯ
เป็นผู้รับเงินแต่เพียงผู้เดียว และบริษัทฯ เป็นผู้ออกใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงิน
5. เมื่อเอกสารประกวดราคาจ้างมิได้กำหนดคุณสมบัติหรือเงื่อนไขของผู้ประกวดราคาจ้าง ผู้
เข้าประกวดราคาจึงสามารถเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลใด ๆ ก็ได้
แนววินิจฉัย: สัญญากิจการร่วมค้าระหว่าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉ. กับบริษัท อ. มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าทำ
การประกวดราคาก่อสร้างปรับปรุงท่าเรือท่องเที่ยวบนเกาะสมุยกับสำนักงานเทศบาลตำบลเกาะสมุย
ไม่มีการแบ่งแยกงาน ความรับผิดชอบและการรับเงินค่าจ้างอย่างชัดเจน และกำหนดให้บริหารกิจการใน
รูปคณะกรรมการบริหารซึ่งแต่งตั้งจากนิติบุคคลทั้งสองฝ่าย โดยยึดถือหลักถ้อยทีถ้อยอาศัย เพื่อประโยชน์
สูงสุดของกิจการร่วมค้า และสัญญาจ้างระบุโดยชัดแจ้งว่า เข้าทำสัญญาในลักษณะกิจการร่วมค้า ไม่มี
การแบ่งแยกงาน ความรับผิดและการรับเงินค่างวดงาน ดังนั้น การร่วมดำเนินการของห้างหุ้นส่วนจำกัด
ฉ. และบริษัท อ. จึงเป็นการดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไร ระหว่างบริษัทกับห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล เข้าลักษณะเป็นกิจการร่วมค้า ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร กิจการร่วมค้าจึงอยู่ใน
บังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร และกิจการร่วมค้ามีหน้าที่ยื่น
คำขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
สำหรับการที่บริษัทฯ อ้างว่า ไม่มีวัตถุประสงค์ดำเนินการในลักษณะกิจการร่วมค้า แต่มาร่วม
ดำเนินงานโดยอาศัยสัญญาระหว่างกันเท่านั้น จึงไม่เป็นหน่วยภาษีใหม่และไม่ต้องขอมีเลขและ
บัตรประจำตัวผู้เสียอากร และบริษัทฯ เป็นผู้ออกใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและเอกสาร
ทางการเงินอื่น ๆ นั้น ถือว่า เป็นข้อตกลงภายในของกิจการร่วมค้าไม่อาจนำมาเป็นข้อยกเว้นใน
การปฏิบัติตามกฎหมายได้
เลขตู้: 66/32757
clear-gif

ข้อจำกัดความรับผิดชอบความเห็นข้างต้น.:- สรุปความเห็นทั้งหมดจากข้อมูลอ้างอิง ข้อหารือกรมสรรพากรข้างต้น เท่านั้น ขอให้ผู้นำไปใช้วิเคราะห์ตามข้อมูลของแต่ละสถานการณ์









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น