วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

กิจการสามารถนำการยื่นแบบ ภงด 51 เพิ่มเติม แม้ว่าจะยื่นหลังจากยื่นแบบ ภงด 50 ประจำปี แล้ว

กิจการถูกประเมินจ่ายค่าปรับเพิ่มร้อยละ 20 จากการประมาณการกำไรขาดเกินร้อยละ 25 สามารถนำการยื่นแบบ ภงด 51 เพิ่มเติมแต่ต้องยื่นก่อนยื่นแบบ ภงด 50 ประจำปี  ถึงจะได้รับยกเว้นการจ่ายค่าปรับเพิ่มร้อยละ 20 จากการประมาณการกำไรขาดเกินร้อยละ 25 

อ้างอิง:- จดหมายตอบข้อหารือกรมสรรพากร ตามแนบ

เลขที่หนังสือ: กค 0706/11035
วันที่: 1 พฤศจิกายน 2550
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 เพิ่มเติม
ข้อกฎหมาย: มาตรา 67 ทวิ และมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
          บริษัท ท. ซึ่งเป็นลูกค้าของบริษัทฯ มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดทุกวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี โดยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2548 บริษัท ท. ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้


          1. เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2548 บริษัท ท. ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีแรก (ภ.ง.ด.51) แสดงยอดขาดทุนสุทธิสำหรับปี 2548 จำนวน 59,626.94 บาท แสดงยอดขาดทุนสุทธิครึ่งปีจำนวน 29,813.47 บาท ยอดภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จำนวน 924 บาท และยอดภาษีเงินได้ถูกหัก ณที่จ่าย ชำระไว้เกินจำนวน 924 บาท



          2. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2549 บริษัท ท. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับปี 2548 (ภ.ง.ด. 50) แสดงยอดกำไรสุทธิจำนวน 67,035.04 บาท ยอดภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณได้จากกำไรสุทธิจำนวน 10,055.26 บาท ยอดภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 26,535 บาท และยอดภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย ชำระไว้เกินจำนวน 16,479.74 บาท



          3. เนื่องจากยอดรายรับของกิจการสำหรับรอบระยะเวลาเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม ปี 2548 เพิ่มขึ้น หรือลดลง มีผลทำให้กำไรขาดทุนสุทธิสำหรับปีของกิจการเปลี่ยนแปลงไปด้วยและบริษัท ท. ต้องการปรับปรุงแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 สำหรับปี 2548 เพื่อมิให้แสดงยอดประมาณการกำไรสุทธิสำหรับปี2548 ขาดเกินร้อยละ 25 เมื่อเปรียบเทียบกับยอดกำไรสุทธิสำหรับปี 2548 ตามแบบ ภ.ง.ด.50 บริษัท ท. จึงได้ทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ฉบับเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2549 แสดงยอดกำไรสุทธิสำหรับปี 2548 จำนวน 160,075.51 บาท ยอดกำไรสุทธิสำหรับครึ่งปี จำนวน 80,037.76 บาท ยอดภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณได้จากกำไรสุทธิจำนวน 12,005.66 บาท ยอดภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย จำนวน 13,746.50 บาท และยอดภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย ชำระไว้เกินจำนวน 1,740.84 บาท



          4. บริษัท ท. ไม่เคยถูกตรวจสอบจากเจ้าพนักงานประเมินเรื่องการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 สำหรับปี 2548 แต่อย่างใด



          บริษัทฯ จึงขอทราบว่า ในการพิจารณาว่า บริษัท ท. ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีโดยแสดงผลประมาณการขาดเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิปลายงวดหรือไม่ จะต้องนำแบบแสดงรายการเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ฉบับเพิ่มเติม มารวมพิจารณาหรือไม่และกรณีดังกล่าว บริษัท ท. จะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มตามาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่


แนววินิจฉัย
          1. กรณีบริษัท ท. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ประมาณการกำไรสุทธิภายในกำหนดเวลาและได้มีการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เพิ่มเติมซึ่งเกินกำหนดเวลาตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ในการพิจารณาว่า บริษัท ท. ยื่นแบบประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ จะต้องนำแบบ ภ.ง.ด.51 เพิ่มเติมดังกล่าว มารวมพิจารณาเปรียบเทียบด้วย


          2. กรณีการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับเพิ่มเติม เป็นการยื่นแบบตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เกินกำหนดเวลา บริษัท ท. จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้: 70/35405

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่องการนับเงินได้เพื่อซื้อ RMF LTF หลังแก้ไข กม. 2558 ลงวันที่ 11 มกราคม 59

ตัวอย่าง 3 อ้างอิง จากคำชี้แจงกรมสรรพากร

ในปี ๒๕๕๘ นาย ค ได้รับเงินได้ดังนี้ 
(๑) เงินได้จากธุรกิจรับจัดสวน 2,000,000 บาท 

(๒) เงินปันผล 160,000 บาท (ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 โดยเงินปันผล ดังกล่าวจ่ายจากกำไรของบริษัทจ ากัดซึ่งเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 และนาย ค เลือกนำเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาประจำปีตามแบบ ภ.ง.ด.90) 

(๓) ดอกเบี้ยรับจากธนาคารพาณิชย์ เอ 900,000 บาท (ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษี โดยถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 และเป็นเงินได้ที่มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 15 ตามที่ได้ถูกหักภาษีไว้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นในการยื่นแบบแสดง รายการภาษีเงินได้ประจำปีตามแบบ ภ.ง.ด.90 ก็ได้ตามมาตรา 48 (3) (ก) แห่งประมวล รัษฎากร) 

นาย ค สามารถนำเงินได้ที่ได้รับดังกล่าวทั้งหมด รวมทั้งเครดิตภาษีเงินปันผลรวม จำนวนทั้งสิ้น 3,100,000 บาท (2,000,000 + 160,000 + 40,000 (เครดิตภาษีเงินปันผล = 160,000 x 20/80) + 900,000 (ดอกเบี้ยรับจากธนาคารตาม (3) ไม่ว่านาย ค จะใช้สิทธิ เลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 หรือไม่ก็ตาม)) มาใช้เป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ดังนี้ 

(ก) ซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้จำนวน 465,000 บาท (3,100,000 x 15% = 465,000) 

(ข) ซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้จำนวน 465,000 บาท (3,100,000 x 15% = 465,000)

อ้างอิง :-คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ลงวันที่ 11 มกราคม 2559



วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุป พรก.นิรโทษกรรมภาษีและยกเว้นภาษี SME พร้อมคำชี้แจงตัวอย่างจากกรมสรรพากร


สรุป:- มาตรการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs

หลักการหรือสาเหตุที่ออกกฎหมายดังกล่าว

http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/sme/1std_040159.pdf

พระราชกำหนดที่ยกเว้นการตรวจสอบภาษีย้อนหลังก่อนปี 2558

http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/sme/2law1_040159.pdf

พระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีให้กับ SME

http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/sme/3law2_040159.pdf

คำชี้แจงจากกรมสรรพากร พร้อมตัวอย่างประกอบ

http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/sme/4exp_040159.pdf

สรุปคำชี้แจงประกอบให้ดูเข้าใจโดยง่าย

http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/sme/5con_050159.pdf

ความเห็นโดยส่วนตัว

ถ้าผู้ประกอบการ SME มั่นใจว่า ในปี 2559 จะจัดทำบัญชีชุดเดียว หรือทำอยู่แล้วก็สมัครได้เลย ครับ เพราะมีแต่ได้ไม่มีเสีย

กำหนดเปิดให้สมัครเริ่ม 15 มค 59 ถึง 15 มีค 59 ปิดรับการใช้สิทธิ์

ที่มา Fanpage :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์
ข้อมูลเพิ่มเติม ท่านอ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์ไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับสำนักงานบัญชี เป็นการนำมาเผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่ผู้เสียภาษีให้ถูกต้องเท่านั้น ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์มา  ณที่นี้ด้วย ครับ

คุณ Nok OK (12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 22:02 น.) 

ปุจฉา: ตามพระราชกฤฎีกาฯ "ม. 6 (1) ไม่มีทุนที่ชำระแล้วรอบบัญชีใดเกิน 5 ล้านและไม่มีรายได้รอบใดเกิน 30 ล้านบาท" หมายถึงจากปี2558 ขึ้นไป (คือปี 2559 เกิน 30 ล้านก็ถูกถอนสิทธิ) ไหมคะ? และ ตั้งแต่ปี 2558 ลงไปกี่ปีคะที่รายได้ไม่เกิน 30 ล้าน เพราะเปิดมา 25 ปี ต้องกลับไปดูย้อนหลังกี่ปีคะ?
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา: 
ตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 บัญญัติว่า
"มาตรา 8 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 6 และการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 7 ต้องไม่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินห้าล้านบาทและต้องไม่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินสามสิบล้านบาท ทั้งนี้ ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป"
ดังนั้น หากตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 เป็นต้นไป กิจการ SMEs ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งสองข้อ กิจการนั้น ย่อมไม่ได้สิทธิเป็น SMEs ที่จะลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีนั้นเป็นต้นไป และไม่อาจกล้บคืนมาได้สิทธิดังเช่นพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับก่อนๆ อีกต่อไป
ตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า
"มาตรา 6 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) ไม่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินห้าล้านบาทและไม่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินสามสิบล้านบาท
(2) ได้จดแจ้งเป็นผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(3) ไม่ถูกเพิกถอนการได้รับยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร"
ดังนั้น การพิจารณาเงื่อนไขตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 ไม่อาจพิจารณาเป็นรายรอบระยะเวลาบัญชีดังเช่นที่เคยเป็นตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 ได้อีกแล้ว เนื่องจากได้มีการกำหนดเงื่อนไขใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม โดยให้พิจารณาว่า ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 เป็นต้นมาเท่านั้น ไม่ต้องย้อนกลับไปถึง 25 ปีดอกครับ หากตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 เป็นต้นมาจนถึงรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 กิจการ SMEs มีรอบระยะเวลาบัญชีปีใดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 530) กล่าวคือ มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินห้าล้านบาท และหรือ่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินสามสิบล้านบาท ก็ย่อมเสียสิทธิตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป ไม่อาจจะกลับมาใช้สิทธิตามตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 ได้อีกเลย




วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุป พระราชกฤษฎีกา ลดและยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับสนับสนุนผู้จดแจ้ง พรก.นิรโทษภาษีอากร 58


แหล่งที่มา:- พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร 
                 ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๙๕)พ.ศ. ๒๕๕๘

สิทธิ์ประโยชน์ ตามพรก ฉบับนี้

ยกเว้นเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้
                                กำไรทางภาษี                  อัตราภาษีร้อยละ

ปี 2559                           ทั้งหมด                       0

ปี 2560                   กำไร 0 – 300,000 บาท              0
                                300,001 บาท ขึ้นไป              10%

ปี 2561                 หลังจากนั้นเข้าสู่อัตราภาษีร้อยละของปกติ

เงื่อนไขคุณสมบัติเพื่อใช้สิทธิ์นี้

1.ไม่มีทุนที่ชําระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินห้าล้านบาทและไม่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินสามสิบล้านบาท

2. ได้จดแจ้งเป็นผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการ เกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร (อ่านเพิ่มเติม พรก.ยกเว้นและสนับสนุน)

3. ไม่ถูกเพิกถอนการได้รับยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการ เกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร


สรุป ถ้าจดแจ้งขอใช้สิทธิ์ต่อมาพรก.ฉบับนี้ต่อมาตรวจพบการเลี่ยงภาษี  แล้วต่อมาถูกเพิกถอนสิทธิ์ ก็จะหมดสิทธิ์นี้และถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลังครับ

แหล่งที่มา :- พรก.ฉบับเต็มเพื่อใช้ค้นคว้าอ้างอิงรายละเอียด ครับ
                http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/001/5.PDF

ที่มา Fanpage :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์
ข้อมูลเพิ่มเติม ท่านอ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์ไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับสำนักงานบัญชี เป็นการนำมาเผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่ผู้เสียภาษีให้ถูกต้องเท่านั้น ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์มา  ณที่นี้ด้วย ครับ


คุณ Nok OK (12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 22:02 น.) 

ปุจฉา: ตามพระราชกฤฎีกาฯ "ม. 6 (1) ไม่มีทุนที่ชำระแล้วรอบบัญชีใดเกิน 5 ล้านและไม่มีรายได้รอบใดเกิน 30 ล้านบาท" หมายถึงจากปี2558 ขึ้นไป (คือปี 2559 เกิน 30 ล้านก็ถูกถอนสิทธิ) ไหมคะ? และ ตั้งแต่ปี 2558 ลงไปกี่ปีคะที่รายได้ไม่เกิน 30 ล้าน เพราะเปิดมา 25 ปี ต้องกลับไปดูย้อนหลังกี่ปีคะ?
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา: 
ตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 บัญญัติว่า
"มาตรา 8 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 6 และการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 7 ต้องไม่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินห้าล้านบาทและต้องไม่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินสามสิบล้านบาท ทั้งนี้ ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป"
ดังนั้น หากตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 เป็นต้นไป กิจการ SMEs ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งสองข้อ กิจการนั้น ย่อมไม่ได้สิทธิเป็น SMEs ที่จะลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีนั้นเป็นต้นไป และไม่อาจกล้บคืนมาได้สิทธิดังเช่นพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับก่อนๆ อีกต่อไป
ตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า
"มาตรา 6 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) ไม่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินห้าล้านบาทและไม่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินสามสิบล้านบาท
(2) ได้จดแจ้งเป็นผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(3) ไม่ถูกเพิกถอนการได้รับยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร"

ดังนั้น การพิจารณาเงื่อนไขตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 ไม่อาจพิจารณาเป็นรายรอบระยะเวลาบัญชีดังเช่นที่เคยเป็นตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 ได้อีกแล้ว เนื่องจากได้มีการกำหนดเงื่อนไขใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม โดยให้พิจารณาว่า ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 เป็นต้นมาเท่านั้น ไม่ต้องย้อนกลับไปถึง 25 ปีดอกครับ หากตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 เป็นต้นมาจนถึงรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 กิจการ SMEs มีรอบระยะเวลาบัญชีปีใดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 530) กล่าวคือ มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินห้าล้านบาท และหรือ่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินสามสิบล้านบาท ก็ย่อมเสียสิทธิตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป ไม่อาจจะกลับมาใช้สิทธิตามตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 ได้อีกเลย

สรุป พรก.นิรโทษกรรมตรวจภาษีย้อนหลัง 2558

สรุปพระราชกําหนดยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรพ.ศ. ๒๕๕๘

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

ยกเว้นจากการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร (ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ )สําหรับรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันเริ่มต้นก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ หรือมูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือการกระทําตราสารที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ

1.เป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

2.มีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชี 12 เดือนก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม  2558 ไม่เกิน 500 ล้านบาท

เงื่อนไขที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์ตามประกาศได้

1.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอยู่ระหว่างการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร โดยมีหมายเรียกที่ออกก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ

2.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอยู่ระหว่างการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา ๘๘/๓ แห่งประมวลรัษฎากร ที่ดําเนินการก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ

3.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ออกใบกํากับภาษีปลอมหรือเป็นผู้ใช้ใบกํากับภาษีปลอม หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกระทําการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร โดยแสดงรายจ่ายอันเป็นเท็จต่อกรมสรรพากร

4.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอยู่ในระหว่างการดําเนินคดีในชั้นพนักงานสอบสวนชั้นพนักงานอัยการ หรือชั้นศาล

การได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง จะต้องปรากฏด้วยว่า เจ้าพนักงานประเมินยังไม่ได้เริ่มดําเนินการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร หรือยังไม่ได้ดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับภาษีอากรนั้น ๆ

ข้อพึงปฎิบัติเมื่อประสงค์จะใช้สิทธิ์ ตามพรก.ฉบับนี้

1.ทําการจดแจ้งต่อกรมสรรพากร ว่าเป็นผู้ได้รับยกเว้นตามพระราชกําหนดนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และภายในเวลาที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนด

2.ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้างล่างหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเงิน พร้อมชำระภาษี ตามแต่กรณีที่มี
         2.1 แบบภาษีเงินได้ เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด 1 2 3 และ 53) ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด 50 และ 51)
       2.2 แบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ แล้วแต่กรณี
2.3 ยื่นแบบการเสียภาษีอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน แล้วแต่กรณี

3. มีการจัดทําบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป

4.ไม่กระทําการใด ๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากร นับแต่วันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับพ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป

กรมสรรพากรสงวนสิทธิ์ในการเพิกถอนสิทธิ์ที่ให้กรณีดังนี้

1.ไม่ปฎิบัติตามข้อพึงปฎิบัติ ข้างต้น

2.หลังจากเพิกถอนสิทธิ์ กรมสรรพากรสามารถเข้าตรวจสอบภาษีย้อนหลังได้ตามปรกติ

สรุปใครเหมาะกับ พรก.ฉบับนี้ 

1.นิติบุคคลที่ ประสงค์จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

2.นิติบุคคลที่มีเจตนาจะเสียภาษีให้ถูกต้องหลังจากนี้ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป

กรณีต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรอ่านประกาศฉบับเต็ม และประกาศเพิ่มเติมของอธิบดีกรมสรรพากร