วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

จดบจก..บัญชีปากเกร็ด Line Official Account มาแล้ว


เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน 

Line Official อันนี้จึงเกิดขึ้นนะครับ

ขอบคุณที่ติดตามกันมา และยังจะติดตามกันต่อไป 

ใครสนใจเพิ่มช่องทางการติดต่อกับผม ท่านสามารถ Add Friend ด้วย QR Code ด้านล่าง หรือ คลิ๊กลิงค์ หรือ Add ด้วย Search by ID พิมพ์ “@cdb9054z” ครับผม




กรณีที่สร้างอาคารบนที่ดินเช่า แล้วยกให้แก่เจ้าของทีดินทันที โดยได้สิทธิการเช่าเป็นระยะเวลาที่ตกลงกัน เช่น 20 ปี (BTO: Built Operate Transfer) และได้นำสิทธิการเช่านั้นมาใช้ในกิจการทีอยุ่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำนักงานบัญชีไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์ทั้งสิ้น
เป็นการนำมาแสดงประกอบข้อกฏหมายอ้างอิง 
เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรโดยมีหลักกฎหมายอ้างอิงเท่านั้น

กรณีที่สร้างอาคารบนที่ดินเช่า แล้วยกให้แก่เจ้าของทีดินทันที โดยได้สิทธิการเช่าเป็นระยะเวลาที่ตกลงกัน เช่น 20 ปี (BTO: Built Operate Transfer) และได้นำสิทธิการเช่านั้นมาใช้ในกิจการทีอยุ่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หากภายหลังได้มีการโอนสิทธิการเช่าใหแก่บุคคลอื่น ถือเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใยข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้านำสิทธิการเช่านั้นมาให้เช่าช่วงต่อไป ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการโอนสิทธิการเช่านั้นแต่อย่างใด

ที่มา Fanpages :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์

คุณ Niramon Dankum (25 สิงหาคม 2558 เวลา 20:42 น.)
ปุจฉา: เรียนปรึกษา อาจารย์ค่ะ
กรณี บจ.A สร้างปั๊มน้ำมัน ร้าน 7-11 ร้านกาแฟ นำภาษีซื้อค่าก่อสร้างทั้งหมดมาขอคืน VAT ทั้งหมดแล้ว ต่อมาได้ตั้ง บจ.B บริหารร้าน 7-11 และตั้ง บจ. C ทำร้านกาแฟ
โดย บจ.A ออกใบกำกับภาษีขาย อาคารร้าน 7-11 ให้ บจ.B (เฉพาะอาคาร)
และออกใบกำกับภาษีขาย อาคารร้านกาแฟให้ บจ.C
บจ. A ยื่นยอดขาย ส่วน บจ.B และ C ยื่นยอดซื้อขอคืน VAT
ถาม
1. บจ.A ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่..ถ้าไม่ถูก ต้องทำอย่างไร
2. บจ.B และ C นำภาษีซื้อมาขอคืน..ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่..ถ้าไม่ถูกต้องทำอย่างไร
3. หลังจากที่ บจ.B ซื้ออาคาร มาประมาณ 6 เดือน ก็ทราบว่า เป็นส่วนของอาคาร ร้านขายของฝาก เกินมาด้วย จึง ออกใบกำกับภาษีขาย ขายคืนอาคาร ส่วนที่เกิน ให้กับ บจ. A. (ถาม. บจ.B ปฏิบัติถูกต้องหรืิอไม่ ถ้าไม่ถูกต้องทำอย่างไร)
4. จาก คำถาม ข้อ 1 - 3 ถ้าไม่ถูกต้อง ต้องรับผิดทางภาษีอย่างไรบ้างคะ
ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ


สุเทพ พงษ์พิทักษ์


วิสัชนา:
1. บจ.A ปฏิบัติไม่ถูกต้อง เพราะการขายอาคารโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนสิทธิและนิติกรรมต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน ย่อมไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้น การสร้างอาคารร้านค้า 7-11 และร้านกาแฟ นัน หากประกอบกิจการเองย่อมเป็นกิจการทีอยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ย่อมกระทำได้ แต่เมื่อตั้งบริษัท B ให้บริหารร้านค้า 7-11 และบริษัท C ให้บริหารร้านกาแฟ นั้น บริษัท A ไม่สามารถออกใบกำกับภาษีเพื่อขายร้านทั้งสองในส่วนที่เป็นอสังหารมทรัพย์ได้ แต่ในส่วนของการขายสังหาริมทรัพย์ เช่น สินค้า ตู้แช่ เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆ บริษัท A สามารถออกใบกำกับภาษีได้ ที่ถูกต้องควรทำ “สัญญาให้ใช้อาคาร” เพราะเป็นกิจการที่อยู่ในข่ายทีต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมูลค่าการขายอาคาร จนกว่าจะครบสามปี นับแต่เดือนภาษีที่อาคารเสร็จสมบูรณ์ และขายในส่วนของสังหาริมทรัพย์เท่านั้น

ในใบกำกับภาษีต้องแสดงรายละเอียดการขายสินค้าและการให้บริการให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อเท็จจริง และมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร

2. บจ.B และ C นำภาษีซื้อมาขอคืน หากเป็นใบกำกับภาษีทีแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อ 1 ก็ย่อมถือว่าได้ปฏิบัติถูกต้องแล้ว แต่ถ้าไม่ได้แก่ไขให้ถูกต้องก็จนใจ

3. การที่บริษัท B ออกใบกำกับภาษีขาย เพื่อขายคืนอาคารร้านขายของฝาก ส่วนที่เกิน ให้กับ บจ. A. เช่นนี้ บริษัท B ปฏิบัติไม่ถูกต้อง เช่นเดียวกับข้อ 1 ควรยกเลิกใบกำกับภาษีดังกล่าว เพราะเป็นกิจกรรมที่ไม่อาจจะออกใบกำกับภาษีขายได้ เป็นผลให้บริษัท B มียอดภาษีขายแจ้งเกิน และสำหรับบริษัท A มียอดภาษีซื้อสำหรับรายการดังกล่าวแจ้งเกิน

4. ก่อนตอบข้อนี ขอถอนหายใจเฮือกใหญ่ และขอบอกว่า ความไม่รู้และไม่เข้าใจภาษีมูลค่าเพิ่ม นั้น พาให้ทำอะไรต่อมิอะไรที่ผิดพลาดไปหมด โดยไม่รู้ตัว (ไม่ทราบว่าจะได้รับคำแนะนำที่ผิดๆ มาหรือเปล่า เฮ้อ!!!)

สำหรับบริษัท A หากแก้ไขใบกำกับภาษีค่าขายอาคารร้านค้า ให้เป็นการให้บริการใช้อาคารแทน ตามจำนวนหรือมูลค่าเดิม ในทางภาษีมูลค่าเพิ่มก็หลุดพ้นไปจากความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้ แต่ถ้าไม่แก้ไขก็ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 89 (6) แห่งประมวลรัษฎากร

สำหรับบริษัท B และบริษัท C ที่ได้รับใบกำกับภาษีซื้อจากบริษัท A หากได้แก้ไขให้ถูต้องตามที่ควรจะเป็นดังกล่าวข้างต้น ก็ย่อมหลุดพ้นไปจากความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้ แต่ถ้าไม่แก้ไขก็ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 89 (3) หรือ (4) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากใช้ภาษีซื้อเกินไป

Noppawan Mahuntapibal อาจารย์ค่ะ ส่วนใหญ่การสร้างปั๊มน้ำมัน มักจะสร้าง บนที่ดินของเจ้าของ และการขออนุญาตก่อสร้างอาจขอโดยบริษัทหรือบุคคลธรรมดา ซึ่งตามปกติ อาคารมักจะตกเป็นของ เจ้าของที่ดิน เว้นแต่ไปจดกรมที่ดินแยกความเป็นเจ้าของระหว่างอาคารและที่ดิน เมื่ออาคารมิได้ไปจดทะเบียนขายที่กรมที่ดิน และไม่ได้จดแยกความเป็นเจ้าของ จึงถือว่าเป็นการให้สิทธิใช้อาคาร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเสมอใช่ไหมคะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์ @ คุณ Noppawan Mahuntapibal 
ขอบุคณสำหรับแนวคิดที่ดิที่มอบให้
กรณีที่สร้างอาคารบนที่ดินเช่า แล้วยกให้แก่เจ้าของทีดินทันที โดยได้สิทธิการเช่าเป็นระยะเวลาที่ตกลงกัน เช่น 20 ปี (BTO: Built Operate Transfer) และได้นำสิทธิการเช่านั้นมาใช้ในกิจการทีอยุ่ในข่
ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หากภายหลังได้มีการโอนสิทธิการเช่าใหแก่บุคคลอื่น ถือเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใยข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้านำสิทธิการเช่านั้นมาให้เช่าช่วงต่อไป ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการโอนสิทธิการเช่านั้นแต่อย่างใด


*คลิกLIKEเพื่อทันข่าวสารด้านภาษี บัญชี เพื่อธุรกิจ SME มาเป็นแฟนเพจของเรา ค่ะ *

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ได้รับใบกำกับภาษีมาจากผู้ขาย เป็นแบบฟอร์มเก่าที่มีเลขประจำตัว 10 หลักพิมพ์มาจากโรงพิมพ์ และใช้หมึกเขียนเลขประจำตัว 13 หลักเพิ่ม จะสามารถขอคืนภาษีได้หรือไม่

สำนักงานบัญชีไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์ทั้งสิ้น
เป็นการนำมาแสดงประกอบข้อกฏหมายอ้างอิง 
เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรโดยมีหลักกฎหมายอ้างอิงเท่านั้น

ที่มา Fanpages :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์

คุณ Darika Wongnaknoi (25 สิงหาคม 2558 เวลา 12:35 น. จากกรุงเทพมหานคร) 

ปุจฉา: 
ได้รับใบกำกับภาษีมาจากผู้ขาย เป็นแบบฟอร์มเก่าที่มีเลขประจำตัว 10 หลักพิมพ์มาจากโรงพิมพ์ และใช้หมึกเขียนเลขประจำตัว 13 หลักเพิ่ม จะสามารถขอคืนภาษีได้หรือไม่

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา: 
ไม่ได้ครับ 

กรณีดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (12) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ดังนี้
“(12) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งรายการตามมาตรา 86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร มิได้ตีพิมพ์ขึ้น หรือมิได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ”
อนึ่ง รายการตามมาตรา 86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ “ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี...” 
ความเห็นเพิ่มเติม Suphot Sumleekaew 
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
และผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการ

ตามประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓)

ข้อ ๔/๑ “ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายที่มีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรอยู่ก่อนวันที่ที่ประกาศนี้ใช้บังคับจะใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรนั้นในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรต่อไป หรือแก้ไขเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรพร้อมกับลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขหรือประทับตรายางเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่ถูกต้องเพิ่มเติมจนถึงวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ก็ได้ แต่ไม่รวมถึงการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของผู้มีหน้าที่เสียภาษี ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี”

ความเห็นเพิ่มเติม สุเทพ พงษ์พิทักษ์ 

ขอบคุณ อาจารย์สุพจน์ ที่เพิ่มเติมรายบะเอียดที่ชัดเจนให้อีก นั่นย่อมหมายความว่า หากเป็นเรื่องของการปฎิยัติการตามประมวลรัษฎากรไม่เกิน 31 มกราคม 2556 หรือเป็นเวลา 1 ปีถัดจากวันที่ใช้บังคับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก 
แต่คำถามปัจจุบัน 2558 จึงตัดบทเข้าเงื่อนไขภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัํษฎากร


วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ภงด 2 กรมสรรพากรไม่ให้เขียนแบบยื่นด้วยกระดาษแล้ว ต้องยื่นทาง Net หรือ ด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ เท่านั้น





อ้างถึงประกาศ
1.คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การยื่นแบบ ภงด 2 และ ภงด 2 ก
กรมสรรพากร เลื่อนระยะเวลาการบังคับใช้ ตามประกาศอธิบดี กรมสรรพากรฉบับที่ 260
http://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/1303058r19.pdf

2.อยากรู้ว่าเงินได้อะไร ต้องใช้แบบ ภงด 2 บ้างดูได้จากตารางสรุปภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายลิงก์ข้างล่าง ครับ
http://taxclinic.mof.go.th/upload/pdf/rd25.pdf

วิธีการยื่นด้วยสื่อคอมพิวเตอร์
1.ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 255)
 1.ยื่นแบบด้วย
      1.1 สื่อคอมพิวเตอร์
      1.2 พิมพ์เอกสารแสดงรายการ
      1.3 ชำระเงินที่กรมสรรพากร
      http://goo.gl/KeauM2

2.สมัคร และ ยื่นแบบด้วยคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (แบบ ภงด 2 + 2 ก.)
     2.1 ยื่นแบบด้วยคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (ไม่มีสื่อคอมพิวเตอร์ กรณี ภงด 2 + 2ก )
     2.2 พิมพ์รายงานเฉพาะกรณี ภงด 2 เพื่อนำไปยื่นกรมสรรพากร
     2.3 ชำระเงินที่กรมสรรพากร เฉพาะกรณี ภงด 2
     http://goo.gl/UKc6Bu

  3. สมัครยื่นแบบทางอินเตอร์เนต+ชำระเงิน (เฉพาะแบบภงด 2 เท่านั้น )
     https://goo.gl/zRE86t  

*คลิกLIKEเพื่อทันข่าวสารด้านภาษี บัญชี เพื่อธุรกิจ SME มาเป็นแฟนเพจของเรา ค่ะ *

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ของขวัญกับการเสียภาษี

ที่มา จากกรมสรรพากร รวบรวมไว้เพื่อประโยชน์ในการชำระภาษีให้ถูกต้อง
 http://www.rd.go.th/publish/28871.0.html

ชื่อเรื่อง : ภาษีซื้อต้องห้าม กรณีกระเช้าของขวัญ
คำถาม :  ซื้อกระเช้าของขวัญแจกลูกค้าในเทศกาล นำภาษีซื้อมาขอเครดิตได้หรือไม่
คำตอบ :  ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อกระเช้าของขวัญมาแจกหรือให้เป็นของขวัญแก่ลูกค้าเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ การเปิดแนะนำสินค้าใหม่ โดยมีนามบัตรของบริษัทที่ระบุชื่อ ที่อยู่ และเครื่องหมายการค้าของบริษัทติดที่กระเช้าของขวัญดังกล่าว เป็นภาษีซื้อต้องห้ามมิให้นำไปหักออกจากภาษีขาย ตามมาตรา82/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร และ ข้อ 5 ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17)
                 ส่วนภาษีขาย  หากกระเช้าของขวัญดังกล่าวเป็นสิ่งของที่บริษัทพึงให้แก่ลูกค้าตามประเพณี ทางธุรกิจทั่วไปและมีราคาหรือมูลค่าไม่เกินสมควรแล้ว บริษัทไม่ต้องนำมูลค่าของกระเช้าดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม  ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร และ ข้อ 2(6) ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)



ชื่อเรื่อง : แจกของขวัญนำมาเป็นค่าใช้จ่าย
คำถาม :  บริษัทแจกของขวัญให้ลูกค้า บริษัทนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ เป็นจำนวนเท่าไรที่สรรพากรจะไม่ต้องให้มาบวกกลับและนำมาเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่

คำตอบ :  1.  ภาษีเงินได้นิติบุคคล     ค่าใช้จ่ายนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราว ตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 143 (พ.ศ. 2522)
                  2.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม     ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อของขวัญแจกเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ตาม มาตรา 82/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร และ ข้อ 5 ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17)
                   


ชื่อเรื่อง : เช็คของขวัญให้พนักงานถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
คำถาม :  บริษัทให้เช็คของขวัญกับพนักงาน ถือเป็นรายจ่ายของบริษัท ได้หรือไม่
คำตอบ :  ถือเป็นรายจ่ายไม่ได้ เนื่องจากเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หาต้องห้าม ตาม มาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวลรัษฎากร



ชื่อเรื่อง : จ้างทำ ส.ค.ส.
คำถาม :  บริษัทจ้างทำ ส.ค.ส. โดยให้ ใส่โลโก้ของบริษัท ถามว่าต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
คำตอบ :  หากผู้รับจ้างมิได้ผลิตขายเป็นปกติทั่วไป แต่เป็นการผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้า ซึ่งสินค้าจะมีลักษณะเฉพาะขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า โดยเมื่อผลิตสินค้าเสร็จแล้ว ลูกค้าตกลงจะยอมรับสินค้าที่ตรงตามคำสั่งของตนเท่านั้น กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ผู้ว่าจ้างจึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายเงินได้ให้บริษัทในอัตราร้อยละ 3 ตาม ข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/25428ฯ แต่หากเป็นการผลิตขายเป็นปกติทั่วไปอยู่แล้ว การจ่ายเงินได้ดังกล่าวจะถือเป็นการซื้อสินค้า ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย



ชื่อเรื่อง :   ตารางสรุปภาระภาษีกรณีการแจก แถม และสินค้าที่ใช้ไปในการส่งเสริมการขาย

กิจกรรมส่งเสริมการขาย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
จากการขายสินค้าหรือบริการ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เสีย/+ภาษีขาย
ยกเว้น/ไม่เสีย
หักภาษีซื้อได้
ต้นทุนของสินค้า
ถือเป็นรายจ่าย
1.  การแจกสินค้า (Free distribution)
1.1  การแจกสินค้าตัวอย่าง (Sampling)

X
X

X
1.2  การแจกสินค้า/ให้ของขวัญตามเทศกาล
X
X
X
1.3  การแจกโดยซื้อสินค้าอื่นไปใช้เป็นของแจก
X
X
X
1.4  การแจกสินค้าตัวอย่างให้ผู้จัดจำหน่าย
X
X
X
2. การใช้คูปอง (Used Coupon)
2.1  คูปองแลกซื้อสินค้า

X
X
2.2  คูปองส่วนลดค่าสินค้า
X
X
2.3  คูปองสะสมแต้มตามแผนส่งเสริมการขาย

X

X
3. ของแถมที่ให้ผู้บริโภค (Premium)
3.1  ของแถมที่ใส่ในหีบห่อหรือในกล่องสินค้า
(In-pack Premium)
X
X
X
3.2  ของแถมที่แนบติดไปกับสินค้า
(On-Pack Premium)
X
X
X
3.3  ของแถมแยกชิ้นอิสระที่ให้ต่างหากจากสินค้า (Near-pack)
X
X
X
3.4  ของแถมที่ส่งให้ภายหลังการซื้อสินค้า/ใช้สินค้า
X
X
X
3.5  ของแถมที่ส่งทางไปรษณีย์
(Free – in the mail Premium)
X
X
X
3.6  ของแถมที่ใช้ชิ้นส่วนแลกซื้อ
X
X
X
3.7  ของแถมที่มีมูลค่ามากกว่าสินค้า
X
 X
3.8  การแถมบริการหีบห่อ (Packaging)
X
X
X
4. ส่วนลด (Discount)
4.1  ส่วนลดการค้าพร้อมการขาย
(Trade Discount)
X
X
X
4.2  ส่วนลดเงินสดพร้อมการขาย (Cash discount)
X
X
X
4.3 ส่วนลดภายหลังที่เป็นรางวัลจากการส่งเสริมการขาย
X
X
X
X
5. ของขวัญและของชำร่วย (Gift & Supplement)
5.1  ให้ในโอกาสเปิดร้าน, เทศกาล, แนะนำสินค้าใหม่

X

X

X
5.2 ใ ห้สินค้าอื่น, ให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ลูกค้า
X
X
6. ของรางวัล
6.1  รางวัลจากการแข่งขันหรือชิงโชค
(Contest & Sweepstakes)

X

X

X

X
6.2   รางวัลหรือโบนัสที่ได้รับจากการส่งเสริมการขาย
X
X
X
X
7. การบริจาคสินค้า(Donation)
7.1  บริจาคสินค้าให้องค์การสาธารณกุศล,        สถานศึกษาเอกชน

X

X
7.2  บริจาคสินค้าให้หน่วยราชการ/รัฐบาล สถานพยาบาลเอกชน
X
X
7.3 บริจาคสินค้าให้สำนักสงฆ์,มูลนิธิ/สมาคมที่ไม่อยู่ในรายชื่อประกาศกำหนดให้เป็นองค์การสาธารณกุศล,คณะบุคคลอื่น
X





RD Call  Center  1161
บริการอย่างเป็นมิตร เพื่อนคู่คิดทางภาษี

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กรมสรรพากร ได้แก้ไขเริ่มเก็บภาษีการให้โดยขนบธรรมเนียม ประเพณี ธรรมจรรยา หรือ เสน่หา ตั้งแต่ 1 กพ 59

พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558 และจะมีผลใช้บังคับภายหลัง 180 วัน คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 กรมสรรพากร จะเริ่มเก็บภาษีการให้โดยขนบธรรมเนียม ประเพณี ธรรมจรรยา มรดก หรือ เสน่หา จากเดิมที่ยกเว้นไม่เก็บภาษี ตามภาพประกอบล่าง
พร้อมกับแนบเอกสารสรุปกฏหมาย จัดทำโดยกรมสรรพากร ครับ




พร้อมกันนี้ได้แนบ พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๐) พ.ศ. ๒๕๕๘ ตัวกฏหมายมาอ่านประกอบด้วยเลย ครับ
http://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/act40.pdf

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พร้อมตารางสรุปประกอบโดย สศค

พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา
  เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558 และจะมีผลใช้บังคับภายหลัง 180 วัน
                   คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559

เป็นแผนภาพสรุปที่จัดทำโดย สศค หรือ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

พร้อมกันนี้ได้แนบเอกสารสรุปที่จัดทำโดยกรมสรรพากร


พร้อมกันนี้ได้แนบ พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก ฉบับลงราชกิจจานุเบกษา จากกรมสรรพากร เอาไว้ให้อ่านประกอบกัน ครับ
http://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/deathduty.pdf

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีนำทรัพย์สินส่วนตัวมา ลงทุนและการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ ราย บริษัท นงนุชแลนด์สเคป แอนด์ การ์เด้น ดีไซน์ จำกัด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/9344
วันที่: 10 พฤศจิกายน 2548
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีนำทรัพย์สินส่วนตัวมา
ลงทุนและการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ ราย บริษัท นงนุชแลนด์สเคป แอนด์
การ์เด้น ดีไซน์ จำกัด
ข้อกฎหมาย: มาตรา 39 มาตรา 42(9) และมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ: บริษัท น. จำกัด ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดสวน ดูแลสวนและขายต้นไม้
ได้ขอหารือดังนี้

1. บริษัทฯ ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดสวน ดูแลสวน และขายต้นไม้ให้แก่
เอกชนทั่วไป รวมทั้งส่วนราชการต่าง ๆ ต่อมาในปี 2544 ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้
นำต้นไม้อันเป็นทรัพย์สินส่วนตัวมาลงทุนในบริษัทฯ เพื่อขยายกิจการ โดยบริษัทฯ
ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนจำนวน 14 ล้านบาท ทั้งนี้ ต้นไม้ที่นำมาลงทุนเป็นต้นไม้ที่อยู่ใน
วัยเจริญพันธุ์ และในการนำมาลงทุนได้มีการประเมินราคาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านต้นไม้
จึงขอทราบว่า กรณีผู้ถือหุ้นนำต้นไม้อันเป็นทรัพย์สินส่วนตัวที่มีมาแต่เดิมมาลงทุน
จะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในการคำนวณภาษี
สิ้นปี หรือได้รับยกเว้นเงินได้ตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากเป็น
การขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร

2. ต้นไม้จากการซื้อบางส่วน ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ใช้งานได้เลย ซึ่งใช้สำหรับงาน
บริการ เช่น จัดสวน ในทางปฏิบัติของการบันทึกบัญชี ถือเป็นต้นทุนของงาน
บริการ และต้นไม้อีกส่วนหนึ่งอยู่ในแปลงผลิต ซึ่งทั้งหมดสามารถใช้ได้ทุกขนาด
แล้วแต่งานและความประสงค์ของลูกค้า โดยต้นทุนที่ลงในแปลงผลิต ประกอบด้วย
ค่าแรงคนงาน ค่าปุ๋ย ค่าวิจัย ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าเสื่อมราคาเครื่องมือ และอุปกรณ์ และ
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการผลิต บริษัทฯ ประสบปัญหาในการตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด
เนื่องจากต้นไม้มีการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วและมีอายุจำกัดตามแต่ละสายพันธุ์ อีกทั้ง
มีบางส่วนสูญเสียเนื่องจากธรรมชาติ บริษัทฯ ไม่สามารถที่จะคำนวณต้นทุนต่อ
หน่วยเสมือนสินค้าโดยปกติทั่วไปได้ จึงต้องการทราบวิธีการปฏิบัติและการบันทึก
บัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ

แนววินิจฉัย

: 1. กรณีผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้นำต้นไม้ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัวมาลงทุนเพื่อ
ขยายกิจการบริษัทฯ โดยตีมูลค่าต้นไม้ชำระเป็นค่าหุ้นเพื่อการเพิ่มทุน ถือเป็นการ
นำสังหาริมทรัพย์มาลงเป็นหุ้น โดยมีการโอนกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ให้แก่
บริษัทฯ และผู้ถือหุ้นได้หุ้นเป็นค่าตอบแทน ดังนั้น มูลค่าหุ้นที่ได้รับจึงเป็นเงินได้
พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และหากต้นไม้ตามข้อเท็จจริงไม่ใช่
ต้นไม้ที่ได้มาโดยทางมรดก ประกอบกับการโอนกรรมสิทธิ์ในต้นไม้ที่สามารถ
คำนวณได้จากปริมาณต้นไม้และมูลค่าของต้นไม้ จึงถือได้ว่า ผู้โอนมีเจตนาได้มาโดย
มุ่งในทางการค้า เข้าลักษณะเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้า
หรือหากำไร เป็นเหตุให้ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตาม
มาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ถือหุ้นจะต้องนำมูลค่าหุ้นที่ได้รับมารวมคำนวณ
เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


2. กรณีต้นไม้ที่ซื้อมาใช้ในงานจัดสวน บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามวิธีการทางบัญชีที่
รับรองทั่วไป และคำนวณราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตาม
มาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนต้นไม้ที่สูญเสียเนื่องจากธรรมชาติ การ
พิจารณาต้นทุนหรือรายจ่ายของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติตามข้อ 1 และ
ข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.79/2541 เรื่อง แนวทางปฏิบัติ กรณีการทำลายของ
เสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ
และเศษซาก ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541


เลขตู้: 68/33672


ทีมา:- จดหมายตอบข้อหารือกรมสรรพากร