เลขที่หนังสือ | : กค 0702/4480 |
วันที่ | : 27 มิถุนายน 2557 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักค่าใช้จ่ายเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ตามมาตรา ๔๐ (๕) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 40(5)(ก) มาตรา 43 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ มาตรา 65 ตรี มาตรา 5(1)(ง) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2505 |
ข้อหารือ | นาง ว. ได้รับเงินจากการให้เช่ารถขุดตักและรถแบ็คโฮ ซึ่งเป็นการนำทรัพย์สินของตนออกให้ผู้อื่นเช่าเพื่อนำไปขุดตักดิน เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๕) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งในการคำนวณหักค่าใช้จ่ายเพื่อเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากมาตรา ๕ (๑) (ง) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช่จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๐๒ กำหนดว่า กรณีการให้เช่าทรัพย์สินที่เป็นยานพาหนะ ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ ๓๐ และตามมาตรา ๕ (๑) (จ) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับดังกล่าว กรณีการให้เช่าทรัพย์สินอย่างอื่น ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ ๑๐ จึงมีประเด็นปัญหาว่า นาง ว. จะมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ดังกล่าวในอัตราร้อยละเท่าใด |
แนววินิจฉัย | พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายของคำว่า "ยานพาหนะ" หมายถึง ยานต่างๆ มีรถและเรือ เป็นต้น และคำว่า "รถ" หมายถึง ยานที่มีล้อสำหรับเคลื่อนไป กรณีตามข้อเท็จจริง รถขุดตักและรถแบ๊คโฮมีลักษณะเป็นยานที่มีล้อสำหรับขับเคลื่อนไป จึงเป็นยานพาหนะตามความหมายของพจนานุกรมฯ เมื่อนาง ว. นำรถขุดตักและรถแบ๊คโฮออกให้ผู้อื่นเช่า จึงเป็นการให้เช่าทรัพย์สินที่เป็นยานพาหนะ เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๕) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร นาง ว. มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ ๓๐ ตามมาตรา ๔๓ แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา ๕ (๑) (ง) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๐๒ เว้นแต่นาง ว. จะแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๖๕ ทวิ และมาตรา ๖๕ ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นปรากฏว่ามีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ข้างต้น ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ |
เลขตู้ | : 77/39116 ปล. ที่น่าสนใจคือดูแนวคิดในวิธีการหาคำจำกัดความคำว่ายานพาหนะ ครับ |
บริษัท เอส.เค.แอคเคาน์ติ้งอินฟอร์เมชั่น จำกัด โทร 02-575-3007-8 รับจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน บริษัท บุุคคลธรรมดา พร้อมนำส่งงบการเงิน DBD E-filing รับวางระบบบัญชีด้วยโปรแกรมบัญชี Express ให้บริการยื่นแบบผ่านทางอินเตอร์เน็ต และสื่อคอมพิวเตอร์ รับวางแผนภาษี และเคลียภาษีสรรพากร ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI-Business) รับแก้ไขปัญหาคดีรับหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฐานความผิดไม่ยื่นงบการเงิน หรือส่งงบการเงินล่าช้า เกินกำหนดดังกล่าว โดยประหยัดและถูกต้อง
วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักค่าใช้จ่ายเงินได้จากการให้เช่ารถขุดตักและรถแบ็คโฮ ถือเป็นยานพาหนะ หรือทรัพย์สินอื่น
วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีมีกรรมสิทธิร่วมกันในอสังหาริมทรัพย์
ที่มา FanPages :- TAX Station
1) กรณีถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันเนื่องจากการได้รับมรดกมาหรือการให้โดยเสน่หา การครอบครองปรปักษ์หรือจากการที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้บุคคลอื่นเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลัง หากให้เช่าอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษีในนามห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล แต่ถ้าหากขายไปให้แยกเงินได้ตามส่วนของแต่ละคนเพื่อเสียภาษีในฐานะบุคคลธรรมดาแต่ละคน ไม่ต้องเสียภาษีในนามห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล
2) กรณีกรรมสิทธิ์รวมกันเกิดขึ้นเนื่องจากการนิติกรรมซื้อขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน โดยถือกรรมสิทธิ์รวมพร้อมกันให้เช่าหรือขายอสังหาริมทรัพย์ให้เสียในนามห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล
3) แต่หากไม่มีการถือกรรมสิทธิ์รวมพร้อมกันตาม 2) ตอนให้เช่าให้เสียในนามห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล แต่ถ้าขายให้แยกเงินได้ตามส่วนของแต่ละคนเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่ละคน ไม่ต้องเสียภาษีในนามห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล
ตามแนวคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.100/2543
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 100/2543
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์ กรณีการขาย การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
---------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทาง ปฏิบัติในการตรวจและแนะนำสำหรับ การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์ กรณีการขาย การโอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.9/2528 เรื่อง การโอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์ กรณีที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้และกรณีที่เจ้าพนัก งานประเมินไม่ต้องกำหนดราคาขาย ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
ข้อ 2 คำว่า "ขาย" ในการจัดเก็บภาษีเงินได้ หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึง
(1) การขาย แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การให้ การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริม ทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน
(ข) การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์กับส่วน ราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะในกรณีที่ส่วนราชการหรือ รัฐวิสาหกิจนั้น มิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอย่างอื่น นอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนั้น
(2) การโอนโดยทางมรดกให้แก่ทายาท ซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
ข้อ 3 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลธรรมดา ผู้ถึงแก่ความตาย กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ข้อ 4 การขายอสังหาริมทรัพย์ กรณีที่มีการถือกรรมสิทธ์รวม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามข้อ 3 มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ดังนี้
(1) กรณีการถือกรรมสิทธิ์รวมเกิดขึ้นเนื่องจาก การได้รับมรดก การให้โดยเสน่หา การครอบครองปรปักษ์ หรือจากการที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ บุคคลอื่นเข้าถือกรรมสิทธิ์ รวมในภายหลัง ให้บุคคลแต่ละคนที่ถือกรรมสิทธิ์ รวมเสียภาษีเงินได้ในฐานะบุคคลธรรมดา โดยแยกเงินได้ตามส่วนของแต่ละ คนที่มีส่วนอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถือกรรมสิทธิ์รวม
(2) กรณีการถือกรรมสิทธิ์รวมเกิดขึ้นเนื่องจากการทำนิติกรรมซื้อขาย ขายฝาก หรือแลกเปลี่ยน โดยเข้าถือกรรมสิทธ์รวมพร้อมกัน ให้เสียภาษีเงินได้ในฐานะห้างหุ้นส่วน สามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล แต่หากไม่ได้มีการเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมพร้อมกัน ให้บุคคลแต่ละคนที่ถือกรรมสิทธิ์ รวมเสียภาษีเงินได้ในฐานะบุคคลธรรมดา โดยแยกเงิน ได้ตามส่วนของแต่ละคนที่ มีส่วนอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถือกรรมสิทธิ์รวม
ข้อ 5 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ให้คำนวณ จากราคาขาย อสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดขึ้น ในกรณีโอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดย มีหรือไม่มีค่าตอบแทน ไม่ว่าราคาที่ซื้อขายกันตาม ปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้นจะ เป็นอย่างไรก็ตาม โดยถือตามราคาประเมิน ทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจด ทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 6 วิธีปฏิบัติในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งขาย อสังหาริมทรัพย์ มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งเงินภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน ดังนี้
(1) สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิแล้วหาร ด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเงินภาษีที่ต้องเสีย
(2) สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจาก (1) ให้หักค่าใช้จ่าย เป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินจาก การขายอสังหาริมทรัพย์ เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิแล้ว หารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้ เป็นเงินภาษีที่ต้องเสีย
คำว่า "จำนวนปีที่ถือครอง" ตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) หมายถึง จำนวนปี นับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าเกินสิบปีให้นับเพียงสิบปี และเศษของปีให้นับเป็นหนึ่งปี
กรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ถือว่าผู้โอนเป็นผู้จ่ายเงินได้ ผู้โอนมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งเงินภาษีต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน โดยถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามวรรคหนึ่ง
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตาม (1) และ (2) เฉพาะกรณีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทาง การค้าหรือหากำไรที่ต้องชำระใน ขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ณ สำนักงานที่ดิน เมื่อคำนวณภาษีแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาขาย
ข้อ 7 ผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 6 จะเลือกเสียภาษีโดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่น ตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรได้ ดังนี้
(1) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับ จากการให้โดยเสน่หา หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดย มิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ซึ่งได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งไว้แล้ว
(2) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ได้ยื่นรายการแสดงเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังกล่าว และคำนวณภาษีโดยหักค่า ใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร โดยจำนวนภาษีที่คำนวณได้ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาขาย และเมื่อนำภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามข้อ 6 มาหักออกแล้วมีภาษีที่ชำระไว้เกิน ผู้มีเงินได้มีสิทธิขอคืนภาษี
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง เงินได้จาก การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะเป็น การขายอสังหาริมทรัพย์ ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 ซึ่งได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งตามข้อ 6 ไว้แล้ว
ข้อ 8 ผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 4(6) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับ แต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น ซึ่งได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งตามข้อ 6 และได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้ว เมื่อถึงกำหนด ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้จากการขาย อสังหาริมทรัพย์ ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เฉพาะกรณีผู้มีเงินได้ดังกล่าว ไม่ขอรับเงินภาษีที่ ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอ เครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ข้อ 9 ผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มา โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ซึ่งได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งไว้ตามข้อ 6 ต้องนำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์มา รวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องคำนวณ หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร
ข้อ 10 การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(1) การโอนโดยทางมรดกซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ ครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ให้แก่ทายาท ไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาท โดยพินัยกรรม
(2) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบ ด้วยกฎหมายของตนเองโดยไม่มีค่าตอบแทน บุตรชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตร บุญธรรม
(3) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือ ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มี กฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เฉพาะการโอนในส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น
(4) การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะกรณีที่ผู้โอนได้รับค่าตอบแทนเป็นสิทธิในการใช้ทรัพย์สินที่โอนนั้นเพื่อกิจการผลิตสินค้าของตนเอง
(5) การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วย การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืนและ อสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่ต้องเวนคืน
(6) กรณีสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ต้องตกไปเป็นของบุคคลอื่นตามมาตรา 1367 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือโดยการถูกแย่งการครอบครองและมิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืน ซึ่งการครอบครองนั้นภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามมาตรา 1375 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือโดยการสละเจตนาครอบครองหรือไม่ยึดถืออสังหาริมทรัพย์นั้นต่อไปซึ่ง เป็นเหตุให้การครอบครองสิ้นสุดลงตามมาตรา 1377 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เจ้าของสิทธิครอบครองเดิมไม่อยู่ ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้
อสังหาริมทรัพย์ที่บุคคลอื่นได้สิทธิครอบ ครองไปตามวรรคหนึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้สิทธิครอบครองจะต้องนำมา คำนวณภาษีเงินได้ตามปกติ
(7) กรณีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ต้องตกไปเป็น กรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นโดย การครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เจ้าของ กรรมสิทธิ์เดิมไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้
อสังหาริมทรัพย์ที่ได้เป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามวรรค หนึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรของผู้ได้กรรมสิทธิ์ ซึ่งจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ตามปกติ
(8) การแบ่งสินสมรสที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่ง มีราคาของแต่ละฝ่ายเท่ากัน ไม่ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
(9) การแก้ไขหรือการเพิ่มเติมชื่อคู่สมรสในเอกสารสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสินสมรสไม่ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
(10) กรณีครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้เคียงกันเนื้อที่เท่ากันแต่ถือโฉนดที่ดินไว้ผิดสับเปลี่ยนกัน เมื่อได้ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินแก้ไขชื่อในโฉนดให้เป็นการถูกต้องแล้วโดยมิได้มีเจตนาแลกเปลี่ยนที่ดินกัน ไม่ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
(11) กรณีปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าเป็นตัวแทนถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์แทนตัวการ เมื่อตัวแทนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่ตัวการ โดยไม่ได้รับเงินหรือประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทน การโอนดังกล่าว ไม่ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
ข้อ 11 การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีดังต่อไปนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องกำหนดจำนวน เงินเพิ่มขึ้นในการจัดเก็บอากรแสตมป์ ตามมาตรา 123 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
(1) กรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดย การขาย ให้แก่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลตามความในมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ ให้ถือว่าจำนวนเงินที่ผู้จ่าย เงินดังกล่าวจ่ายนั้นเป็นจำนวนเงิน ที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์นั้นตามปกติแล้ว
(2) กรณีการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่วนราชการหรือหน่วยงานตาม ที่กล่าวใน (1) เป็นผู้ทอดตลาด ให้ถือว่าจำนวนเงินค่าขายทอดตลาดนั้น เป็นจำนวนเงินที่ได้ รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์นั้นตามปกติแล้ว
(3) กรณีที่มีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา ริมทรัพย์ ให้ถือว่าจำนวนเงินค่าทดแทนจาก การเวนคืนดังกล่าวเป็นจำนวนเงินที่ได้รับจาก การขายอสังหาริมทรัพย์นั้นตามปกติแล้ว
ข้อ 12 ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือทางปฏิบัติใดที่ขัด หรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
สั่ง ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
สมชาย ศรีสันติสุข
ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพรักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร
ปล.
กระผมขอขอบคุณอาจารย์ในการนำสอนต่อสาธารณะชนเท่านั้น
อาจารย์ไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับกิจการ
ทางสำนักงานบัญชีเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำเผยแพร่เท่านั้น นะครับ
วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
คณะบุุคคล หุ้นส่วนบางคนขอแบ่งจ่ายกำไร บางคนยังไม่รับได้หรือไม่ การสะสมไม่จ่ายส่วนแบ่งกำไร ผลจะเป็นอย่างไร
ที่มา Fanpages :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์
อาจารย์ Suriya Teerawattanasarn ได้โพสต์ไปบนไทม์ไลน์ "สุเทพ พงษ์พิทักษ์" เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 22:22 น. ว่า
"ขอเรียนสอบถาม อ.สุเทพ ว่า
กำไรซึ่งได้จัดสรรแบ่งระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนเรียบร้อยแล้ว แต่มีผู้เป็นหุ้นส่วนบางคนยังจะไม่ขอรับเงินส่วนแบ่ง จะขอฝากไว้ในบัญชีเงินฝากของห้างฯ ไว้ก่อน
ส่วนแบ่งกำไรส่วนนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นจะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีหรือไม่ครับ"
กำไรซึ่งได้จัดสรรแบ่งระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนเรียบร้อยแล้ว แต่มีผู้เป็นหุ้นส่วนบางคนยังจะไม่ขอรับเงินส่วนแบ่ง จะขอฝากไว้ในบัญชีเงินฝากของห้างฯ ไว้ก่อน
ส่วนแบ่งกำไรส่วนนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นจะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีหรือไม่ครับ"
เรียน อาจารย์ Suriya Teerawattanasarn
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
กรณีตามข้อเท็จจริงที่แจ้งไป โดยส่วนตัว ให้ถือเป็นเงินได้ของผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้น เสมือนหนึ่งว่าได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไปแล้ว (Constructive Receipt) ซึ่งต่างจากกรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ต้องได้รyบเงินส่วนแบ่งของกำไรไปจริง จึงจะถือว่าได้รับเงินได้ เนื่องจากกรณีของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับผู้เป้นหุ้นส่วนนั้น ถือเป็นคะหน่วยภาษีแยกต่างหากจากกันโดยชัดแจ้ง แต่สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญมีความสัมพันธ์เสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว โดยไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งมีคำกล่าวอ้างบัญญัติไว้ในมาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ดังนั้น เงินที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นฝากไว้ย่อมถือได้ว่า เป็น "เงินเพิ่มทุน" ของผุ้เป็นหุ้นส่วนคนที่ฝากเงินไว้ ทั้งนี้ กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญสามารถที่จะเพิ่มทุนได้ตลอดเวลา เว้นแต่จะมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น เช่น ตกลงให้ถือเป็นเงินกู้ยืมจากผู้เป็นหุ้นส่วน เป็นต้น
อ้างอิงเพิ่มเติม
มาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้บัญญัติไว้ดังนี้
“ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นเสมือนเป็นบุคคลคนเดียวไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคน ไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชำระให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย”
“ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นเสมือนเป็นบุคคลคนเดียวไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคน ไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชำระให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย”
สรุปความเห็นส่วนตัว
อย่าลืมว่า ตั้งแต่ 1 มค 58 ส่วนแบ่งกำไร ไม่ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย แต่ต้องนำไปเป็นเงินได้ส่วนแบ่งกำไร ประเภทเงินได้ 40 (8) ซึ่งไม่สามารถหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายภาษีใดๆ ได้ และต้องคำนวณด้วยอัตราก้าวหน้าเท่านั้นไม่ได้ให้เลือกแบบเงินปันผลหักร้อยละ 10 แล้วจบได้แบบ บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนะครับ ถ้าสะสมซักคนละ 3 ล้าน อัตราภาษีจ่ายร้อยละ 37 นะครับต้องควักเงินสดๆ จ่ายนะครับ
วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ทำความรุ้จักกับแบบแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการ บช 1
ที่มาสภาวิชาชีพบัญชี
http://www.fap.or.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539704301&Ntype=30
ด่วน!!! ป.ป.ช. อนุมัติขยายระยะเวลาการจัดทำและยื่นแบบ บช.1 ของสัญญาซึ่งมีมูลค่า 2,000,000 บาทขึ้นไป ถึงวันที่ 31 ธ.ค.2557
วันที่ 11/10/2013 14:44:49
http://www.fap.or.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539704301&Ntype=30
ด่วน!!! ป.ป.ช. อนุมัติขยายระยะเวลาการจัดทำและยื่นแบบ บช.1 ของสัญญาซึ่งมีมูลค่า 2,000,000 บาทขึ้นไป ถึงวันที่ 31 ธ.ค.2557
วันที่ 11/10/2013 14:44:49
ตามที่ ป.ป.ช. ได้ออกประกาศ เรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554” ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป โดยกำหนดให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่ต้องจัดทำและยื่นบัญชีรายการรับจ่าย (แบบ บช.1) เป็นรายสัญญา สำหรับสัญญาที่มีมูลค่า 5 แสนบาทขึ้นไป และต่อมาได้แก้ไขประกาศฯ อนุโลมให้ใช้มูลค่าสัญญา 2 ล้านบาทในช่วงแรก เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมูลค่าสัญญาที่เข้าข่ายต้องจัดทำและยื่นแบบ บช.1 แบ่งตามช่วงเวลา ดังนี้
· วันที่ 1 เมษายน 2555 – 31 มีนาคม 2556 ใช้กับสัญญามูลค่า 2 ล้านบาทขึ้นไป
· วันที่ 1 เมษายน 2556 เป็นต้นไป ใช้กับสัญญามูลค่า 5 แสนบาทขึ้นไป
| ||
| ||
การขยายระยะเวลาบังคับใช้สัญญามูลค่า 2 ล้านบาทดังกล่าว นับเป็นผลสำเร็จจากความพยายามในการผลักดันของคณะกรรมการวิชาชีพบัญชี ด้านการทำบัญชี ที่ได้เข้าไปเป็นตัวแทนของสภาวิชาชีพบัญชีฯ และตัวแทนของผู้ทำบัญชีในการให้ข้อคิดเห็น และแนวทางเพื่อลดปัญหาในทางปฏิบัติ รวมทั้งเสนอความเห็นให้มีการปรับปรุงประกาศฯ ต่อ ป.ป.ช. เพื่อลดภาระในการปฏิบัติตามประกาศฯ ดังกล่าว ของผู้ประกอบการและผู้ทำบัญชี อย่างไรก็ตาม ท่านในฐานะผู้ประกอบการหรือผู้ทำบัญชีก็มีหน้าที่ต้องศึกษา ทำความเข้าใจเนื้อหาของประกาศฯ และศึกษารายละเอียดการกรอกแบบ บช.1 อย่างถูกต้อง มิฉะนั้น ท่านหรือองค์กรของท่านจะมีความเสี่ยงในการถูกขึ้นบัญชีรายชื่อขาดคุณสมบัติในการเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐได้ค่ะ
ทั้งนี้ ท่านสามารถศึกษาและติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ ประกาศ ป.ป.ช. เรื่อง การแสดงบัญชีรายการรับจ่ายฯ ได้ทางหน้าเว็บไซด์สภาวิชาชีพบัญชีฯ และเว็บไซด์ของ ป.ป.ช. ตาม Link นี้http://www.nacc.go.th/more_news.php?cid=1481&filename=index_parties
เพื่อหาง่ายมาตรวจสอบว่า บุคคลหรือ นิติบุุคคลของท่านต้องทำแบบ บช.1 หรือเปล่าคลิกลิงก์ข้างล่าง เลย ครับ http://skaccountinginformation.blogspot.com/2015/10/1-2558.html
บริษัท
เอส.เค.แอคเคาน์ติ้งอินฟอร์เมชั่น จำกัด
85/151
ถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 27 ต.คลองเกลือ
อ.ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทร 02-575-3007-8
ให้บริการดังนี้
1.รับจดทะเบียนบริษัท
ทำบัญชี เคลียภาษีเมื่อกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบ แจ้งเลิกกิจการ
2.รับแก้ปัญหาหมายเรียกตำรวจไม่ได้ยื่นงบการเงิน
จดหมายถอนทะเบียนบริษัท
3.รับวางระบบบัญชี
โดยใช้โปรแกรมบัญชี EXPRESS โดยสามารถประยุกต์ให้เข้ากับ
งานโครงการ สินค้านำเข้า ผู้ผลิตสินค้า กิจการที่ีมีสาขา และสำนักงานใหญ่
|
วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
กิจการทำสัญญาเช่าซื้อแลัวได้รับส่วนลดเงินดาวน์รถ 50,000 บาททำอย่างไร ครับทั้งในแง่ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล
ที่มา Fanpage :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์
ปล.
กระผมขอขอบคุณอาจารย์ในการนำสอนต่อสาธารณะชนเท่านั้น
อาจารย์ไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับกิจการ
ทางสำนักงานบัญชีเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำเผยแพร่เท่านั้น นะครับ
คุณ Tukta S'Tippaporn ได้โพสต์ไปในกล่องข้อความ “สุเทพ พงษ์พิทักษ์” เมื่อ 23 มกราคม 2558 เวลา 19:15 น. ว่า
“เรียน อาจารย์สุเทพ
หนูขอสอบถามปัญหาดังนี้ค่ะ
บริษัท S ซื้อรถกระบะ ด้วยวิธีการผ่อนชำระกับบริษัทลิสซิ่ง
มีเงื่อนไขในการซื้อขายดังนี้ ราคาขายรถ 700,000.- บาท
เงินดาวน์ 90,000 บาท ทั้งนี้ บริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์
ได้ให้ส่วนลดเงินดาวน์ จำนวน 50,000 บาท โดยบริษัท S เลือกที่จะนำส่วนลด จำนวน 50,000.- บาท ไปลดเงินดาวน์ ซึ่งเท่ากับว่าบริษัท S จ่ายเงินดาวน์ เพียง 40,000.- บาท (ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการออกรถจะไม่ขอกล่าวถึงเนื่องจากไม่ติดใจสงสัยค่ะ) เอกสารที่บริษัท S ได้รับมี 3 ฉบับ ดังนี้
“เรียน อาจารย์สุเทพ
หนูขอสอบถามปัญหาดังนี้ค่ะ
บริษัท S ซื้อรถกระบะ ด้วยวิธีการผ่อนชำระกับบริษัทลิสซิ่ง
มีเงื่อนไขในการซื้อขายดังนี้ ราคาขายรถ 700,000.- บาท
เงินดาวน์ 90,000 บาท ทั้งนี้ บริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์
ได้ให้ส่วนลดเงินดาวน์ จำนวน 50,000 บาท โดยบริษัท S เลือกที่จะนำส่วนลด จำนวน 50,000.- บาท ไปลดเงินดาวน์ ซึ่งเท่ากับว่าบริษัท S จ่ายเงินดาวน์ เพียง 40,000.- บาท (ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการออกรถจะไม่ขอกล่าวถึงเนื่องจากไม่ติดใจสงสัยค่ะ) เอกสารที่บริษัท S ได้รับมี 3 ฉบับ ดังนี้
1. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี จาก บริษัทลิสซิ่ง “เงินดาวน์ 84,112.15 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 5,887.85 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 90,000 บาท”
2. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี จากบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ดังนี้ “รายได้ค่าบริการอื่นๆ 3,271.03 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 228.97 บาท รวมเป็นทั้งสิ้น 3,500.-บาท”
3. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ “ค่าส่งเสริมการขาย 50,000.- บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1,500.- บาท”
จากประเด็นข้างต้น ขอเรียนถาม
a) ข้อเท็จจริงบริษัท S ได้จ่ายเงินดาวน์ไปเพียง 40,000.- บาท แต่ได้รับใบกำกับภาษีซื้อมาเต็มจำนวนก่อนหักส่วนลด มีวิธีการบันทึกบัญชีอย่างไร
b) และบริษัท S สามารถนำใบกำกับภาษีซื้อ ตามข้อ 1 และ 2 มาใช้ได้ทั้ง 2 ฉบับ รวมเป็นจำนวน 6,116.82 บาท ใช่หรือไม่
กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ
กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์ ได้โพสต์ตอบเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 22:55 น. ว่า
a) ส่วนลดเงินดาวน์ ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ และยันทึกเป็นรายได้อ่ืน
b) บริษัท S สามารถนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวมาถือเป็นเครดิตหักภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษี
วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ช้าๆ ชัดๆ ภาษีมูลค่าเพิ่มVAT คลินิครักษาคนหรือสัตว์
ช้าๆ ชัดๆ ภาษีมูลค่าเพิ่มVAT คลินิครักษาคนหรือสัตว์
ปล.
กระผมขอขอบคุณอาจารย์ในการนำสอนต่อสาธารณะชนเท่านั้น
อาจารย์ไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับกิจการ
ทางสำนักงานบัญชีเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำเผยแพร่เท่านั้น นะครับ
บริษัท
เอส.เค.แอคเคาน์ติ้งอินฟอร์เมชั่น จำกัด
85/151
ถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 27 ต.คลองเกลือ
อ.ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทร 02-575-3007-8
ให้บริการดังนี้
1.รับจดทะเบียนบริษัท
ทำบัญชี เคลียภาษีเมื่อกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบ แจ้งเลิกกิจการ
2.รับแก้ปัญหาหมายเรียกตำรวจไม่ได้ยื่นงบการเงิน
จดหมายถอนทะเบียนบริษัท
3.รับวางระบบบัญชี
โดยใช้โปรแกรมบัญชี EXPRESS โดยสามารถประยุกต์ให้เข้ากับ
งานโครงการ สินค้านำเข้า ผู้ผลิตสินค้า กิจการที่ีมีสาขา และสำนักงานใหญ่
นำเสนอ:- สำนักงานบัญชี บจก.เอส.เค.แอคเคาน์ติ้งอินฟอร์เมชั่น โทร 02-575-3007-8
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 เรื่อง "สัญญาเช่า"(การเช่า ลิสซิ่ง เช่าซื้อ)
สอนบัญชีออนไลน์ : มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17
เรื่อง "สัญญาเช่า"(การเช่า ลิสซิ่ง เช่าซื้อ) 1/11
ปล.
กระผมขอขอบคุณอาจารย์ในการนำสอนต่อสาธารณะชนเท่านั้น
อาจารย์ไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับกิจการ
ทางสำนักงานบัญชีเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำเผยแพร่เท่านั้น นะครับ
บริษัท
เอส.เค.แอคเคาน์ติ้งอินฟอร์เมชั่น จำกัด
85/151
ถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 27 ต.คลองเกลือ
อ.ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทร 02-575-3007-8
ให้บริการดังนี้
1.รับจดทะเบียนบริษัท
ทำบัญชี เคลียภาษีเมื่อกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบ แจ้งเลิกกิจการ
2.รับแก้ปัญหาหมายเรียกตำรวจไม่ได้ยื่นงบการเงิน
จดหมายถอนทะเบียนบริษัท
3.รับวางระบบบัญชี
โดยใช้โปรแกรมบัญชี EXPRESS โดยสามารถประยุกต์ให้เข้ากับ
งานโครงการ สินค้านำเข้า ผู้ผลิตสินค้า กิจการที่ีมีสาขา และสำนักงานใหญ่
นำเสนอ:- สำนักงานบัญชี บจก.เอส.เค.แอคเคาน์ติ้งอินฟอร์เมชั่น โทร 02-575-3007-8
การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1/9
การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1/9
บริษัท
เอส.เค.แอคเคาน์ติ้งอินฟอร์เมชั่น จำกัด
85/151
ถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 27 ต.คลองเกลือ
อ.ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทร 02-575-3007-8
ให้บริการดังนี้
1.รับจดทะเบียนบริษัท
ทำบัญชี เคลียภาษีเมื่อกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบ แจ้งเลิกกิจการ
2.รับแก้ปัญหาหมายเรียกตำรวจไม่ได้ยื่นงบการเงิน
จดหมายถอนทะเบียนบริษัท
3.รับวางระบบบัญชี
โดยใช้โปรแกรมบัญชี EXPRESS โดยสามารถประยุกต์ให้เข้ากับ
งานโครงการ สินค้านำเข้า ผู้ผลิตสินค้า กิจการที่ีมีสาขา และสำนักงานใหญ่
นำเสนอ:- สำนักงานบัญชี บจก.เอส.เค.แอคเคาน์ติ้งอินฟอร์เมชั่น โทร 02-575-3007-8
วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
แนวปฎิบัติการกรมสรรพากรตรวจสอบคณะบุุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ พร้อมตัวอย่างการกรอกแบบเพื่อเสียภาษีถูกต้องและประหยัด
ค าสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.149/2558
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/kormor/970658dn149.pdf
บริษัท
เอส.เค.แอคเคาน์ติ้งอินฟอร์เมชั่น จำกัด
85/151
ถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 27
ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทร 02-575-3007-8
ให้บริการดังนี้
1.รับจดทะเบียนบริษัท
ทำบัญชี เคลียภาษีเมื่อกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบ แจ้งเลิกกิจการ
2. .รับแก้ปัญหาหมายเรียกตำรวจไม่ได้ยื่นงบการเงิน
จดหมายถอนทะเบียนบริษัท
3.รับวางระบบบัญชี
โดยใช้โปรแกรมบัญชี EXPRESS โดยสามารถประยุกต์ให้เข้ากับ
งานโครงการ สินค้านำเข้า ผู้ผลิตสินค้า กิจการที่ีมีสาขา และสำนักงานใหญ่
นำเสนอ:- สำนักงานบัญชี บจก.เอส.เค.แอคเคาน์ติ้งอินฟอร์เมชั่น โทร 02-575-3007-8
วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ตั้งแต่ 4 เมย 2558 สัญญาเช่าที่ดิน สิ่งปลูกสร้างอื่น และสัญญารับจ้างทำของที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านบาท จะต้องชำระอากรเป็นตัวเงินเท่านั้น
อ้างอิง :- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.๑๕๓/๒๕๕๙ เรื่อง การเสียอากรสำหรับตราสารการเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ และตราสารจ้างทำของ ลงวันที่ 24/5/59 พร้อมตัวอย่างประกอบ คลิกข้างล่างครับ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ ๕๔)
เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ
-------------------------------
เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ
-------------------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๐๓ (๓) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๖ และมาตรา ๑๒๓ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๔๙๗ อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๒ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ ๓๗) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๑) เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ ตามลักษณะแห่งตราสาร ๑. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังต่อไปนี้
(ก) มีค่าเช่าตั้งแต่ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป
(ข) รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เช่า หรือ
(ค) ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๒ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ ๓๗) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
จ้างทำของ ตามลักษณะแห่งตราสาร ๔. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังต่อไปนี้
(ก) มีสินจ้างตั้งแต่ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป หรือ
(ข) รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ ๒๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (๑) ของข้อ ๓ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ อากรแสตมป์ (ฉบับที่ ๓๗) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับ ตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) กรณีเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ ตามลักษณะแห่งตราสาร ๑. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ มีค่าเช่าตั้งแต่ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป หรือรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เช่า ให้ผู้ให้เช่าชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยต้องนำตราสารมาสลักหลังตามระเบียบของกรมสรรพากรก่อนกระทำตราสาร หรือภายใน ๑๕ วันนับแต่วันถัดจากวันกระทำตราสารนั้น”
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๒ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ ๓๗) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๑) เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ ตามลักษณะแห่งตราสาร ๑. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังต่อไปนี้
(ก) มีค่าเช่าตั้งแต่ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป
(ข) รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เช่า หรือ
(ค) ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๒ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ ๓๗) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
จ้างทำของ ตามลักษณะแห่งตราสาร ๔. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังต่อไปนี้
(ก) มีสินจ้างตั้งแต่ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป หรือ
(ข) รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ ๒๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (๑) ของข้อ ๓ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ อากรแสตมป์ (ฉบับที่ ๓๗) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับ ตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) กรณีเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ ตามลักษณะแห่งตราสาร ๑. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ มีค่าเช่าตั้งแต่ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป หรือรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เช่า ให้ผู้ให้เช่าชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยต้องนำตราสารมาสลักหลังตามระเบียบของกรมสรรพากรก่อนกระทำตราสาร หรือภายใน ๑๕ วันนับแต่วันถัดจากวันกระทำตราสารนั้น”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร
(ร.จ. ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๒๘ ง วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘)
ที่มา Fanpages :- สุเทพ พงษ์พิทักษ์
คุณ Apiwat RPP (19 กุมภาพันธ์ เวลา 11:28 น.)
ปุจฉา: อาจารย์ครับ ถามเรื่อง อากรแสตมป์ของสัญญาจ้างทำของที่ชำระเป็นตัวเงิน ตามประกาศอธิบดีฯ กรณีทำสัญญาจ้างทำของย้อนหลัง เช่น ทำสัญญาลงวันที่ 19 ก.พ. 2559 แต่เนื้อในสัญญานี้มีผลใช้บังคับ 1 ม.ค. 2559 - 31 ธ.ค. 2559 การชำระอากรแสตมป์จะยึดวันใด ก.พ. หรือ ม.ค. ครับ
ผมอ่านประกาศอธิบดี ฉ.54 บัญญัติว่า "ภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากวันกระทำตราสารนั้น" ผมตีความว่าคือวันที่ทำสัญญา คือ 19 ก.พ. 2559 ครับ อยากทราบว่าแนวทางการตีความของผมถูกต้องไหมครับ
ขอบคุณครับ หวังว่าคำตอบของอาจารย์จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆในเพจด้วย
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดนิยามศัพท์คำว่า “กระทำ” ตราสาร ไว้ดังนี้
"กระทำ" เมื่อใช้เกี่ยวกับตราสาร หมายความว่า การลงลายมือชื่อตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ดังนั้น แนวทางการตีความของ คุณ Apiwat RPP จึงถูกต้องแล้วครับ ที่ถือว่าวันที่กระทำตราสาร คือ 19 ก.พ. 2559
ปล. กระผมขอขอบคุณอาจารย์ในการนำสอนต่อสาธารณะชนเท่านั้น อาจารย์ไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับกิจการ ทางสำนักงานบัญชีเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำเผยแพร่เท่านั้น นะครับ
ที่มา Fanpages :- Tax Station
ตามประกาศอธิบดีสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ฉบับที่ 54 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2557 กำหนดให้สัญญาเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอื่นหรือแพสำหรับค่าเช่าตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป และสัญญาจ้างทำของที่มีสินจ้างตั้งแต่ 1,000,000 ขึ้นไป จะต้องชำระอากรเป็นตัวเงิน ซึ่งจะมีผลบังคับภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 หากผู้เสียอากรชำระอากรโดยการปิดแสตมป์อากรทับลงบนตราสารจึงถือว่าตราสารดังกล่าวมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้เสียอากรมีหน้าที่ชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 37 พ.ศ. 2538 แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 54 พ.ศ. 2557
ผู้เสียอากรแสตมป์ต้องนำตราสารดังกล่าวไปชำระอากรเป็นตัวเงินพร้อมเงินเพิ่มแต่ผู้เสียอากรอาจขออนุมัติเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป. 84/2542 และขอให้นำอากรแสตมป์ที่ชำระไปแล้วโดยการปิดแสตมป์ทับลงบนตราสารไปหักกลบกับอากรแสตมป์ที่ต้องชำระเป็นตัวเงินได้ ตามแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรที่ 0706/8162 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2550
อนึ่ง สัญญาจ้างทำของ 1,000,000 บาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ เช่น สัญญาจ้างทำของ 950,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 66,500 บาท รวมแล้วทั้งหมด 1,016,500 บาท กรณีนี้ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์เนื่องจากสินจ้างไม่ถึง 1,000,000 บาทตามแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรที่ 0702/830 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2551
ผู้เสียอากรแสตมป์ต้องนำตราสารดังกล่าวไปชำระอากรเป็นตัวเงินพร้อมเงินเพิ่มแต่ผู้เสียอากรอาจขออนุมัติเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป. 84/2542 และขอให้นำอากรแสตมป์ที่ชำระไปแล้วโดยการปิดแสตมป์ทับลงบนตราสารไปหักกลบกับอากรแสตมป์ที่ต้องชำระเป็นตัวเงินได้ ตามแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรที่ 0706/8162 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2550
อนึ่ง สัญญาจ้างทำของ 1,000,000 บาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ เช่น สัญญาจ้างทำของ 950,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 66,500 บาท รวมแล้วทั้งหมด 1,016,500 บาท กรณีนี้ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์เนื่องจากสินจ้างไม่ถึง 1,000,000 บาทตามแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรที่ 0702/830 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2551
ที่มา Fanpages :- Tax Station
ปล.
กระผมขอขอบคุณอาจารย์ในการนำสอนต่อสาธารณะชนเท่านั้น
อาจารย์ไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับกิจการ
ทางสำนักงานบัญชีเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำเผยแพร่เท่านั้น นะครับ
เลขที่หนังสือ | : กค 0706/8162 |
วันที่ | : 17 สิงหาคม 2550 |
เรื่อง | : อากรแสตมป์ กรณีขออนุมัตินำแสตมป์ที่ปิดทับลงบนตราสารไปหักกลบกับอากรที่ต้องชำระเป็นตัวเงิน |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 103 มาตรา 113 และมาตรา 114 แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | บริษัทฯทำสัญญาเป็นผู้รับจ้างดำเนินการสร้างและติดตั้งอุปกรณ์ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ให้กับสำนักงาน ข. บริษัทฯ ได้นำแสตมป์อากรมาปิดทับลงบนสัญญา โดยได้ซื้อแสตมป์อากรจากสำนักงานสรรพากรพื้นที่และมีเจ้าหน้าที่พัสดุของสำนักงานฯ เป็นผู้ขีดฆ่าแสตมป์อากรพร้อมลงลายมือชื่อกำกับในสัญญาดังกล่าว ต่อมาบริษัทฯ ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่พัสดุของสำนักงานฯ ว่า สัญญาดังกล่าวต้องชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงินโดยต้องชำระในจำนวนเท่ากับแสตมป์อากรที่ได้ปิดทับลงบนเอกสารสัญญา และต้องเสียค่าปรับอีกส่วนหนึ่งด้วย บริษัทฯ ได้สอบถามกับเจ้าหน้าที่พัสดุของสำนักงานฯ ว่า เหตุใดจึงไม่แจ้งให้บริษัทฯ ทราบก่อนที่จะชำระอากรแสตมป์โดยการปิดทับลงบนสัญญา เจ้าหน้าที่พัสดุของสำนักงานฯ แจ้งว่า ลืมข้อกำหนดเมื่อนึกขึ้นได้จึงได้รีบแจ้งให้บริษัทฯ ดำเนินการชำระอากรแสตมป์พร้อมด้วยค่าปรับให้ถูกต้อง ดังนั้น บริษัทฯ เห็นว่า เนื่องจากบริษัทฯ ไม่ทราบข้อกำหนดดังกล่าวประกอบกับเจ้าหน้าที่พัสดุของสำนักงานฯ ไม่ได้ชี้แจงแนวทางปฏิบัติให้ทราบ อีกทั้งบริษัทฯ ได้ชำระอากรแสตมป์โดยการปิดทับลงบนสัญญาแล้ว บริษัทฯ ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรแต่อย่างใด จึงขออนุมัตินำแสตมป์ที่ปิดทับลงบนตราสารไปหักกลบกับอากรที่ต้องชำระเป็นตัวเงิน |
แนววินิจฉัย | เมื่อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างทำของ ย่อมเข้าลักษณะตราสาร 4. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ซึ่งเป็นตราสารที่กฎหมายกำหนดให้ชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรตามข้อ 2(3) และ ข้อ 3(3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2538 การที่บริษัทฯ ชำระอากรโดยการปิดแสตมป์อากรทับลงบนตราสารจึงถือว่า ตราสารดังกล่าวยังมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว และตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2542 เป็นต้นไป เมื่อบริษัทฯ นำตราสารดังกล่าวไปชำระอากรเป็นตัวเงินพร้อมกับเงินเพิ่มอากร ให้บริษัทฯ เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ของเงินอากรนับแต่วันที่ต้องชำระอากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.84/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การลดเงินเพิ่มอากร ตามมาตรา 113 และมาตรา 114 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2542 แต่เพื่อความเป็นธรรม จึงให้บริษัทฯ นำอากรแสตมป์ที่บริษัทฯ ได้ชำระไว้แล้วโดยการปิดแสตมป์ทับลงบนตราสารไปหักกลบกับอากรแสตมป์ที่ต้องชำระเป็นตัวเงินได้ |
เลขตู้ | : 70/35233 |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)